การอุทิศที่ดินที่ติดจำนองด้วยวาจา เพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
การอุทิศที่ดินที่ติดจำนองด้วยวาจา เพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
1489 Views
นายรวยอุทิศที่ดินที่ติดจำนองอยู่กับธนาคารด้วยวาจา เพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หากปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายอำเภอในท้องที่ไม่ได้แสดงเจตนารับการยกให้ดังกล่าว และในสัญญาจำนองมีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า นายรวยจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนองไม่ได้ เว้นแต่จะต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร หากนายรวยประพฤติผิดสัญญา ธนาคารมีสิทธิจะเรียกให้นายรวยชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันที ต่อมา นายรวยเห็นว่าไม่มีประชาชนใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวตามความประสงค์ จึงนำที่ดินมาปรับปรุงเป็นอาคารสำนักงานและนำออกให้เช่ามาเป็นระยะเวลา 10 ปีแล้ว มีคำถามว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นของใคร
การอุทิศที่ดินเพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น แม้จะเป็นการอุทิศด้วยวาจาโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 ก็ตาม แต่การอุทิศที่ดินเช่นนี้ เป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304 (2) จึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 525 ไม่ แม้เป็นการอุทิศด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนการที่ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคารโดยสัญญาจำนองระบุว่า นายรวยจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนองไม่ได้ เว้นแต่จะต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร หากนายรวยประพฤติผิดสัญญา ธนาคารมีสิทธิจะเรียกให้นายรวยชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องระหว่างนายรวยกับธนาคาร การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกที่ดินเพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันต้องเสียเปล่าไป และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้นายรวยจะได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ที่ดินตกไปเป็นของนายรวยได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 บัญญัติห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2549 และ 264/2555)
# ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หมายถึง ที่ดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สวนสาธารณะ ที่เลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณะประจำตำบลหรือหมู่บ้าน เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การอุทิศที่ดินเพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น แม้จะเป็นการอุทิศด้วยวาจาโดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 ก็ตาม แต่การอุทิศที่ดินเช่นนี้ เป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามมาตรา 1304 (2) จึงหาจำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 525 ไม่ แม้เป็นการอุทิศด้วยวาจาก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่วนการที่ที่ดินติดจำนองอยู่กับธนาคารโดยสัญญาจำนองระบุว่า นายรวยจะให้สิทธิหรือทรัพยสิทธิไม่ว่าด้วยประการใด ๆ แก่ผู้อื่นในทรัพย์สินที่จำนองไม่ได้ เว้นแต่จะต้องได้รับความยินยอมจากธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร หากนายรวยประพฤติผิดสัญญา ธนาคารมีสิทธิจะเรียกให้นายรวยชำระหนี้และบังคับจำนองได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องระหว่างนายรวยกับธนาคาร การที่ธนาคารผู้รับจำนองมิได้ให้ความยินยอมจึงไม่มีผลบังคับให้การยกที่ดินเพื่อให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันต้องเสียเปล่าไป และสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจสูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ แม้นายรวยจะได้กลับเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวแล้วนานเพียงใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ที่ดินตกไปเป็นของนายรวยได้อีก เพราะตามมาตรา 1306 บัญญัติห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2549 และ 264/2555)
# ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน หมายถึง ที่ดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สวนสาธารณะ ที่เลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณะประจำตำบลหรือหมู่บ้าน เป็นต้น
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ