ในเขตกรุงเทพมหานคร การขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานหรือลอดอุโมงค์ทางร่วมทางแยกจะมีความผิดหรือไม่

314 Views
เนื่องจากรถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะที่คล่องตัว ประหยัด และสามารถพาผู้ขับขี่เดินทางไปได้ทุกที่ด้วยความรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จำนวนของผู้ที่ขับขี่มอเตอร์ไซค์จะมีจำนวนมากกว่าผู้ที่ใช้รถยนต์ถึงกว่า 10 ล้านคัน และทุกๆ 5 วินาทีเราจะพบมอเตอร์ไซค์ 1 คันบนท้องถนน อย่างไรก็ดี ยานพาหนะแต่ละประเภทย่อมมีข้อจำกัดในการใช้ทางที่แตกต่างกัน จึงมีคำถามว่า ในเขตกรุงเทพมหานคร การขับขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานหรือลอดอุโมงค์ทางร่วมทางแยกจะมีความผิดหรือไม่
 
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ว.1 และ ว.2 มีหลักว่า “รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่าความเร็วของรถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ใกล้ขอบทางเดินรถด้านซ้ายเท่าที่จะกระทำได้ และผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ในทางเดินรถซึ่งได้แบ่งช่องเดินรถในทิศทางเดียวกันไว้ตั้งแต่ 2 ช่องขึ้นไป หรือได้จัดช่องเดินรถประจำทางด้านซ้ายไว้โดยเฉพาะ ต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายสุดหรือใกล้เคียงกับช่องเดินรถประจำทาง แล้วแต่กรณี” ส่วนมาตรา 139(1) มีหลักว่า “ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรเห็นว่า ถ้าได้ออกประกาศ ข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแล้วจะเป็นการปลอดภัย และสะดวกในการจราจร ให้หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศข้อบังคับ หรือระเบียบห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน ซึ่งคําสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 529/2555 ลงวันที่ 7 กันยายน 2555 ได้แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาลเป็นเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีอำนาจออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการห้ามรถบางชนิดและล้อเลื่อนลากเข็น เดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ สะพานข้ามแม่น้ำ และในอุโมงค์ลอดทางร่วมทางแยก พ.ศ. 2559 ดังนั้น ในเขตกรุงเทพมหานคร หากสะพานหรืออุโมงค์ทางร่วมทางแยกใดมีคำสั่งจากเจ้าพนักงานจราจรห้ามใช้ทางดังกล่าวแล้ว ผู้ฝ่าฝืนย่อมมีความผิดและต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ