เลิกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน
เลิกจ้างเพราะเหตุที่ลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือน
323 Views
การที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจโดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าหรือขออนุมัติต่อนายจ้างก่อน นายจ้างจึงได้ออกหนังสือเตือนว่า หากต่อไปมีการหยุดงานและไม่แจ้งให้นายจ้างทราบอีกให้ถือว่าพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างโดยทันที ต่อมา ระหว่างวันทำงาน ลูกจ้างขอลาป่วยเพื่อไปพบแพทย์แล้วหยุดงาน 3 วันติดต่อกันโดยไม่แจ้งให้นายจ้างทราบอีกแต่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง นายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยเพราะเหตุลูกจ้างกระทำผิดซ้ำคำเตือนได้หรือไม่ อย่างไร
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ .... (4) ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ทั้งนี้ หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด” ตามปัญหา การที่ลูกจ้างเคยถูกนายจ้างตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย ดังนั้น ไม่ว่าการลาป่วยของลูกจ้างดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่ลูกจ้างเคยถูกนายจ้างตักเตือน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
# 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด ไม่ใช่นับแต่วันที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 มีหลักว่า “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ .... (4) ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน ทั้งนี้ หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด” ตามปัญหา การที่ลูกจ้างเคยถูกนายจ้างตักเตือนเป็นหนังสือเนื่องจากลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในการลากิจมาแล้วนั้น ต่อมาลูกจ้างใช้สิทธิลาป่วย ดังนั้น ไม่ว่าการลาป่วยของลูกจ้างดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือไม่ก็ตามก็เป็นคนละเรื่องกับกรณีที่ลูกจ้างเคยถูกนายจ้างตักเตือน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว นายจ้างจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
# 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด ไม่ใช่นับแต่วันที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6910/2546)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ