สัญญากู้เงินที่พยานไม่ได้มีการลงชื่อในสัญญามาตั้งแต่ต้น ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้เห็นว่ายังไม่มีชื่อพยาน จึงได้ให้เพื่อนมาช่วยลงชื่อเป็นพยานโดยพลการ แล้วนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลเรียกเงินกู้คืน หากผู้กู้รับว่าได้ลงชื่อในสัญญาจริง แต่การที่พยานมาลงชื่อในภายหลังเป็นการปลอมเอกสาร ทั้งผู้ให้กู้และเพื่อนจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่
สัญญากู้เงินที่พยานไม่ได้มีการลงชื่อในสัญญามาตั้งแต่ต้น ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้เห็นว่ายังไม่มีชื่อพยาน จึงได้ให้เพื่อนมาช่วยลงชื่อเป็นพยานโดยพลการ แล้วนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลเรียกเงินกู้คืน หากผู้กู้รับว่าได้ลงชื่อในสัญญาจริง แต่การที่พยานมาลงชื่อในภายหลังเป็นการปลอมเอกสาร ทั้งผู้ให้กู้และเพื่อนจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่
408 Views
โลกในยุคปัจจุบันมีความสะดวกสบาย อยากรู้อยากหาอะไรก็ง่ายดายเพียงแค่มีอินเตอร์เน็ต จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่พวกเราจะหาแบบของสัญญามาสักฉบับหนึ่งเพื่อใช้ในการทำนิติกรรม อย่างไรก็ดี สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทำสัญญานั้น นอกจาก ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญาแล้ว สถานที่ วันเดือนปีที่ทำสัญญา ความสามารถของคู่สัญญา เนื้อหารายละเอียด ความรับผิด และการลงลายมือชื่อของคู่สัญญาและพยานนั้น ก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะตอนที่ยังดีกันอยู่ สัญญาจะมีความไม่สมบูรณ์หรือหละหลวมเพียงใดก็มักจะไม่เป็นปัญหา แต่หากเริ่มมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งยังต้องการให้ปฏิบัติตามสัญญากันต่อไป อาจทำให้เกิดความสงสัยกันขึ้นมาได้ว่า สัญญาที่ทำกันไปแล้วนั้น มีความสมบูรณ์ ใช้บังคับกันได้ หรือเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ เรื่องที่แอดมินนำมาพูดคุยในวันนี้ก็เช่นเดียวกันครับ เกิดจากความไม่เรียบร้อยของการทำสัญญา จนนำมาสู่ปัญหาข้อพิพาทและกลายเป็นคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาในที่สุด จึงมีคำถามว่า สัญญากู้เงินที่พยานไม่ได้มีการลงชื่อในสัญญามาตั้งแต่ต้น ต่อมาผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้เห็นว่ายังไม่มีชื่อพยาน จึงได้ให้เพื่อนมาช่วยลงชื่อเป็นพยานโดยพลการ แล้วนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลเรียกเงินกู้คืน หากผู้กู้รับว่าได้ลงชื่อในสัญญาจริง แต่การที่พยานมาลงชื่อในภายหลังเป็นการปลอมเอกสาร ทั้งผู้ให้กู้และเพื่อนจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 653 ระบุว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้หรือพยานไว้ด้วยแต่อย่างใด ส่วนการกระทำที่จะเป็นผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการกระทำที่น่าจะเกิด หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน เมื่อผู้กู้รับว่าได้มีการลงชื่อในสัญญากู้เงินจริง สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว การที่ผู้ให้กู้ให้เพื่อนมาช่วยลงชื่อเป็นพยานในสัญญาในภายหลัง จึงไม่น่าจะเกิด หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ผู้กู้แต่อย่างใด และไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2505 และ 4537/2553
ป.พ.พ. มาตรา 653 ระบุว่า “การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว” สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 นั้นอยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้หรือพยานไว้ด้วยแต่อย่างใด ส่วนการกระทำที่จะเป็นผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการกระทำที่น่าจะเกิด หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน เมื่อผู้กู้รับว่าได้มีการลงชื่อในสัญญากู้เงินจริง สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว การที่ผู้ให้กู้ให้เพื่อนมาช่วยลงชื่อเป็นพยานในสัญญาในภายหลัง จึงไม่น่าจะเกิด หรืออาจเกิดความเสียหายแก่ผู้กู้แต่อย่างใด และไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1126/2505 และ 4537/2553