การที่ลูกจ้างขอลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่นายจ้างก็อนุมัติการลาออก นายจ้างจะนำระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมาอ้างเพื่อหักหรือระงับการจ่ายค่าจ้างได้หรือไม่
การที่ลูกจ้างขอลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่นายจ้างก็อนุมัติการลาออก นายจ้างจะนำระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมาอ้างเพื่อหักหรือระงับการจ่ายค่าจ้างได้หรือไม่
181 Views
ป.พ.พ.มาตรา 575 มีหลักว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้” ในทางปฏิบัติ นอกจากข้อตกลงในเรื่องของค่าจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานก็มักจะมีเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ประการอื่น ๆ ของคู่สัญญาซึ่งมีความสอดคล้องกับระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จึงมีคำถามว่า การที่ลูกจ้างขอลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแต่นายจ้างก็อนุมัติลาออก นายจ้างจะนำระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมาอ้างเพื่อหักหรือระงับการจ่ายค่าจ้างได้หรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1) และ (4) มีหลักว่า “ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่าย หรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง” ตามปัญหา สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ก่อให้เกิดหนี้หรือหน้าที่แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง ขณะเดียวกันนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง แม้การลาออกจะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่นายจ้างก็อนุมัติการลาออกดังกล่าวโดยมิได้ทักท้วงแต่อย่างใด ย่อมเท่ากับว่านายจ้างได้ยกเว้นไม่นำระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบอกกล่าวล่วงหน้ามาใช้กับลูกจ้าง จึงไม่มีสิทธินำระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมาอ้างเพื่อหักหรือระงับการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนใด ๆ
# เสียหายหรือไม่ เป็นหนี้คนละส่วน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12723/2555)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 (1) และ (4) มีหลักว่า “ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่าย หรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือเป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง” ตามปัญหา สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ก่อให้เกิดหนี้หรือหน้าที่แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง ขณะเดียวกันนายจ้างก็มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง แม้การลาออกจะมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่นายจ้างก็อนุมัติการลาออกดังกล่าวโดยมิได้ทักท้วงแต่อย่างใด ย่อมเท่ากับว่านายจ้างได้ยกเว้นไม่นำระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบอกกล่าวล่วงหน้ามาใช้กับลูกจ้าง จึงไม่มีสิทธินำระเบียบหรือข้อบังคับดังกล่าวมาอ้างเพื่อหักหรือระงับการจ่ายค่าจ้างหรือค่าตอบแทนใด ๆ
# เสียหายหรือไม่ เป็นหนี้คนละส่วน
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12723/2555)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ