การใช้บันทึกถ้อยคำของพยานแทนการมาเบิกความด้วยวาจาในคดีอาญา
การใช้บันทึกถ้อยคำของพยานแทนการมาเบิกความด้วยวาจาในคดีอาญา
2060 Views
ในคดีอาญา การที่ทนายโจทก์เสนอบันทึกถ้อยคำของพยานซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ หากทนายจำเลยแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ จะถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2560
การเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 113 ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 บัญญัติว่า พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา ซึ่งเห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นได้มีโอกาสรับฟังคำเบิกความของพยานโดยตรง ให้พยานเล่าเหตุการณ์ที่ตนประสบมาด้วยตนเองและจากความทรงจำของพยานเอง มิให้มีโอกาสเสริมแต่งเรื่องราวให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เสนอคำพยานด้วยวิธีอื่น ในคดีอาญาซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ป.วิ.อ.มาตรา 230/2 บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตามวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 230/1 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วยการให้พยานที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ.ดังกล่าวเบิกความด้วยวิธีส่งบันทึกถ้อยคำแทนการมาเบิกความด้วยวาจาได้ ดังนั้น การที่ทนายโจทก์ทั้งสองเสนอบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ แม้ทนายจำเลยจะแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ก็ไม่อาจถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ บันทึกดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นคำแถลงของพยานที่ศาลรับไว้เท่านั้น ส่วนจะนำมารับฟังได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานหลักฐาน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่ได้อ้างส่งบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองเป็นพยานเพียงลำพัง เพราะพยานดังกล่าวได้มาเบิกความต่อหน้าศาลโดยเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน และเบิกความตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามติงด้วย แม้ถือไม่ได้ว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง แต่ก็คงมีผลเพียงว่าทนายโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจซักถามพยานของตนก่อนเท่านั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2560
การเบิกความเป็นพยานต่อศาลนั้น ป.วิ.พ.มาตรา 113 ซึ่งนำมาใช้บังคับในคดีอาญาด้วยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 บัญญัติว่า พยานทุกคนต้องเบิกความด้วยวาจาและห้ามมิให้พยานอ่านข้อความที่เขียนมา ซึ่งเห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์ให้ศาลและคู่ความฝ่ายอื่นได้มีโอกาสรับฟังคำเบิกความของพยานโดยตรง ให้พยานเล่าเหตุการณ์ที่ตนประสบมาด้วยตนเองและจากความทรงจำของพยานเอง มิให้มีโอกาสเสริมแต่งเรื่องราวให้ผิดเพี้ยนไปจากความจริง เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามบทบัญญัติของกฎหมายให้เสนอคำพยานด้วยวิธีอื่น ในคดีอาญาซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น ป.วิ.อ.มาตรา 230/2 บัญญัติข้อยกเว้นดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ศาลอาจอนุญาตให้เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของผู้ให้ถ้อยคำซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศแทนการนำพยานบุคคลมาเบิกความต่อหน้าศาลได้ ในกรณีที่ไม่อาจสืบพยานตามวิธีการที่บัญญัติในมาตรา 230/1 จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาบังคับใช้โดยอนุโลมด้วยการให้พยานที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นตาม ป.วิ.อ.ดังกล่าวเบิกความด้วยวิธีส่งบันทึกถ้อยคำแทนการมาเบิกความด้วยวาจาได้ ดังนั้น การที่ทนายโจทก์ทั้งสองเสนอบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้วแถลงขอให้ศาลใช้เป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ แม้ทนายจำเลยจะแถลงรับว่าให้ถือเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง ก็ไม่อาจถือว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสองตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ บันทึกดังกล่าวคงมีลักษณะเป็นคำแถลงของพยานที่ศาลรับไว้เท่านั้น ส่วนจะนำมารับฟังได้หรือไม่ เพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะพยานหลักฐาน แต่อย่างไรก็ดี ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ทั้งสองไม่ได้อ้างส่งบันทึกถ้อยคำของพยานโจทก์ทั้งสองเป็นพยานเพียงลำพัง เพราะพยานดังกล่าวได้มาเบิกความต่อหน้าศาลโดยเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้าน และเบิกความตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามติงด้วย แม้ถือไม่ได้ว่าบันทึกถ้อยคำดังกล่าวเป็นคำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสอง แต่ก็คงมีผลเพียงว่าทนายโจทก์ทั้งสองไม่ติดใจซักถามพยานของตนก่อนเท่านั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนมูลฟ้องของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ