การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน
306 Views
ซื้อรถยนต์มือสองจากเต็นท์รถโดยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ แต่ภายหลังผู้เช่าซื้อพบว่าเป็นรถยนต์ที่ถูกปลอมแปลงหมายเลขตัวถังและเครื่องยนต์ สัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะหรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 156 มีหลักว่า “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ อนึ่ง ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น” ส่วนมาตรา 157 มีหลักว่า “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ อนึ่ง ความสำคัญผิดข้างต้น จะต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น” ตามปัญหา การที่ผู้เช่าซื้อได้ตรวจดูสภาพรถยนต์คันที่เช่าซื้อแล้ว และได้รับมอบรถยนต์ซึ่งเป็นคันเดียวกันกับที่ได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ กรณีจึงมิใช่เป็นการสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ส่วนการที่ผู้เช่าซื้อตรวจสอบภายหลังพบว่า หมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์มีการปลอมแปลง แม้จะเป็นความจริง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญอันทำให้นิติกรรมการเช่าซื้อรถยนต์ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 157 เท่านั้น ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้แสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมแก่ผู้ให้เช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 181 กล่าวคือ 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ 10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวก็ยังคงสมบูรณ์และใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
# กำหนดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นเรื่องของกำหนดเวลาไม่ใช่อายุความ ดังนั้น ศาลจึงสามารถหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2541, 16115/2557 และ 8515/2538)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 156 มีหลักว่า “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ อนึ่ง ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น” ส่วนมาตรา 157 มีหลักว่า “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ อนึ่ง ความสำคัญผิดข้างต้น จะต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น” ตามปัญหา การที่ผู้เช่าซื้อได้ตรวจดูสภาพรถยนต์คันที่เช่าซื้อแล้ว และได้รับมอบรถยนต์ซึ่งเป็นคันเดียวกันกับที่ได้ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ กรณีจึงมิใช่เป็นการสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ส่วนการที่ผู้เช่าซื้อตรวจสอบภายหลังพบว่า หมายเลขตัวถังและหมายเลขเครื่องยนต์มีการปลอมแปลง แม้จะเป็นความจริง ก็เป็นเพียงความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญอันทำให้นิติกรรมการเช่าซื้อรถยนต์ตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 157 เท่านั้น ดังนั้น ตราบใดที่ผู้เช่าซื้อไม่ได้แสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมแก่ผู้ให้เช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 181 กล่าวคือ 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ 10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวก็ยังคงสมบูรณ์และใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใด
# กำหนดระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะกรรมเป็นเรื่องของกำหนดเวลาไม่ใช่อายุความ ดังนั้น ศาลจึงสามารถหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยเองได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2541, 16115/2557 และ 8515/2538)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ