การปลอมลายเซ็นเจ้าของบัตร ATM บนหลังบัตร มีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือไม่
การปลอมลายเซ็นเจ้าของบัตร ATM บนหลังบัตร มีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือไม่
274 Views
บัตรเดบิต หรือบัตร ATM คือ บัตรที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร เพื่อใช้ทำรายการที่เครื่อง ATM ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงิน โอนเงิน สอบถามยอด ชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงการซื้อสินค้าที่ร้านค้าหรือทางออนไลน์ โดยเป็นการหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากของเจ้าบัตรทันที อย่างไรก็ดี มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่รับบัตร ATM จากธนาคารมาแล้วไม่เซ็นชื่อบนหลังบัตร เนื่องจากความกังวลว่าอาจถูกลอกเลียนแบบลายเซ็น และเห็นว่าแม้จะไม่มีการเซ็นชื่อบนหลังบัตรก็ไม่กระทบต่อการทำรายการเบิกถอนเงินที่เครื่อง ATM เพราะการเซ็นชื่อบนหลังบัตรหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญในการใช้บัตร แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่รหัสลับ หรือ Password ซึ่งมีแต่เจ้าของบัตรเท่านั้นที่จะทราบรหัสดังกล่าว จึงมีคำถามว่า การปลอมลายเซ็นเจ้าของบัตร ATM บนหลังบัตร มีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือไม่
การที่ธนาคารผู้ออกบัตร ATM ทั้งหลายต่างออกแบบให้ด้านหลังของบัตร ATM มีช่องให้เจ้าของบัตรเซ็นชื่อ (ลงลายมือชื่อ) ไว้นั้น นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวเจ้าของบัตรแล้ว ยังอาจมีวัตถุประสงค์เป็นประการอื่น ๆ ด้วย เช่น หากมีกรณีทำรายการในการเบิกถอนเงินผิดพลาด เป็นเหตุให้เครื่อง ATM ไม่คืนบัตรให้ และเจ้าของบัตรมาขอคืนจากธนาคาร ธนาคารก็อาจตรวจสอบโดยเพียงให้ผู้มาขอคืนเซ็นชื่อเพื่อตรวจสอบว่าตรงกับลายเซ็นเจ้าของบัตรในบัตร ATM นั้นหรือไม่ เป็นต้น อีกทั้งองค์ประกอบความผิดของ ป.อ.มาตรา 264 ในส่วนนี้ก็บัญญัติเพียงว่า "...โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง..." เท่านั้น หาใช่มีองค์ประกอบความผิดว่าต้องได้กระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วยไม่ ดังนั้น การปลอมลายเซ็นเจ้าของบัตร ATM บนหลังบัตร แม้ลายเซ็นปลอมจะมิใช่สาระสำคัญของการใช้บัตร ATM ในการทำรายการเบิกถอนเงินที่เครื่อง ATM ก็ตาม ก็ถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าของบัตรและธนาคารผู้ออกบัตร และได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2551)
# สะกดว่า "ลายเซ็น" ไม่ใช่ "ลายเซ็นต์"
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การที่ธนาคารผู้ออกบัตร ATM ทั้งหลายต่างออกแบบให้ด้านหลังของบัตร ATM มีช่องให้เจ้าของบัตรเซ็นชื่อ (ลงลายมือชื่อ) ไว้นั้น นอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวเจ้าของบัตรแล้ว ยังอาจมีวัตถุประสงค์เป็นประการอื่น ๆ ด้วย เช่น หากมีกรณีทำรายการในการเบิกถอนเงินผิดพลาด เป็นเหตุให้เครื่อง ATM ไม่คืนบัตรให้ และเจ้าของบัตรมาขอคืนจากธนาคาร ธนาคารก็อาจตรวจสอบโดยเพียงให้ผู้มาขอคืนเซ็นชื่อเพื่อตรวจสอบว่าตรงกับลายเซ็นเจ้าของบัตรในบัตร ATM นั้นหรือไม่ เป็นต้น อีกทั้งองค์ประกอบความผิดของ ป.อ.มาตรา 264 ในส่วนนี้ก็บัญญัติเพียงว่า "...โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง..." เท่านั้น หาใช่มีองค์ประกอบความผิดว่าต้องได้กระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดด้วยไม่ ดังนั้น การปลอมลายเซ็นเจ้าของบัตร ATM บนหลังบัตร แม้ลายเซ็นปลอมจะมิใช่สาระสำคัญของการใช้บัตร ATM ในการทำรายการเบิกถอนเงินที่เครื่อง ATM ก็ตาม ก็ถือได้ว่าน่าจะเกิดความเสียหายแก่เจ้าของบัตรและธนาคารผู้ออกบัตร และได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง อันเป็นการครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิแล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2551)
# สะกดว่า "ลายเซ็น" ไม่ใช่ "ลายเซ็นต์"
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ