2 มีคู่สมรสอยู่แล้วแต่จดทะเบียนสมรสซ้อนกับ 1 ต่อมา 1 กับ 2 จดทะเบียนหย่ากัน และ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 3 การสมรสระหว่าง 1 กับ 3 จะตกเป็นโมฆะหรือไม่ และต่อมาหาก 3 จดทะเบียนสมรสกับ 4 1 จะขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้หรือไม่ และ 1 ต้องใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ 10 ปี หรือไม่
2 มีคู่สมรสอยู่แล้วแต่จดทะเบียนสมรสซ้อนกับ 1 ต่อมา 1 กับ 2 จดทะเบียนหย่ากัน และ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 3 การสมรสระหว่าง 1 กับ 3 จะตกเป็นโมฆะหรือไม่ และต่อมาหาก 3 จดทะเบียนสมรสกับ 4 1 จะขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้หรือไม่ และ 1 ต้องใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ 10 ปี หรือไม่
251 Views
การสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ การที่ชายและหญิงซึ่งต่างฝ่ายต่างไม่มีคู่สมรสอยู่ก่อนยินยอมเป็นสามีภริยากัน โดยแสดงความยินยอมโดยเปิดเผยและจดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต การที่สมรสขณะที่มีคู่สมรสอยู่ก่อน เรียกว่า "การสมรสซ้อน" จึงมีคำถามว่า 2 มีคู่สมรสอยู่แล้วแต่จดทะเบียนสมรสซ้อนกับ 1 ต่อมา 1 กับ 2 จดทะเบียนหย่ากัน และ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 3 การสมรสระหว่าง 1 กับ 3 จะตกเป็นโมฆะหรือไม่ และต่อมาหาก 3 จดทะเบียนสมรสกับ 4 1 จะขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้หรือไม่ และ 1 ต้องใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวภายในกำหนดอายุความ 10 ปี หรือไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1452 มีหลักว่า “ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้” และมาตรา 1495 มีหลักว่า “การสมรสที่ฝ่าฝืน........มาตรา 1452 เป็นโมฆะ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น 1 สมรสกับ 2 ในขณะที่ 2 มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึง 1 ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 2 หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 จดทะเบียนหย่าไม่ ฉะนั้นในขณะที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 3 จึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้น 1 ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่าง 1 กับ 3 จึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อ 4 จดทะเบียนสมรสกับ 3 โดย 1 กับ 3 ยังเป็นคู่สมรสกันอยู่ การสมรสระหว่าง 4 กับ 3 จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะมิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ดังนั้น 1 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556)
ป.พ.พ.มาตรา 1452 มีหลักว่า “ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้” และมาตรา 1495 มีหลักว่า “การสมรสที่ฝ่าฝืน........มาตรา 1452 เป็นโมฆะ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น 1 สมรสกับ 2 ในขณะที่ 2 มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึง 1 ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 2 หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 จดทะเบียนหย่าไม่ ฉะนั้นในขณะที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับ 3 จึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้น 1 ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่าง 1 กับ 3 จึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อ 4 จดทะเบียนสมรสกับ 3 โดย 1 กับ 3 ยังเป็นคู่สมรสกันอยู่ การสมรสระหว่าง 4 กับ 3 จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะมิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ดังนั้น 1 จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556)