ตำรวจจะขอค้นตัวของบุคคลใดๆ ในที่สาธารณสถานตามใจชอบได้หรือไม่ และหากบุคคลดังกล่าวไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่ และไม่ยอมให้ตรวจค้น จะมีความผิดหรือไม่
ตำรวจจะขอค้นตัวของบุคคลใดๆ ในที่สาธารณสถานตามใจชอบได้หรือไม่ และหากบุคคลดังกล่าวไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่ และไม่ยอมให้ตรวจค้น จะมีความผิดหรือไม่
370 Views
ตำรวจมีภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ต่อสังคมและประเทศชาติในการรักษาความสงบเรียบร้อย ตลอดจนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม รวมทั้งรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองย่อมถือเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของตำรวจ จึงมีคำถามว่า ตำรวจจะขอค้นตัวของบุคคลใดๆ ในที่สาธารณสถานตามใจชอบได้หรือไม่ และหากบุคคลดังกล่าวไม่ยอมบอกชื่อหรือที่อยู่ และไม่ยอมให้ตรวจค้น จะมีความผิดหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.วิ.อ. มาตรา 93 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครอง เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด” เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณสถาน และผู้ถูกค้นไม่มีท่าทางเป็นพิรุธ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวมีสิ่งของในความครอบครอง เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดแต่อย่างใด การที่ตำรวจเกิดความสงสัยและขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกค้นจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใดๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2555)
ป.วิ.อ. มาตรา 93 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเป็นผู้ค้น ในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครอง เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด” เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่สาธารณสถาน และผู้ถูกค้นไม่มีท่าทางเป็นพิรุธ หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวมีสิ่งของในความครอบครอง เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดแต่อย่างใด การที่ตำรวจเกิดความสงสัยและขอตรวจค้นโดยไม่มีเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดความสงสัย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกค้นจึงมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตน ตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใดๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบดังกล่าวได้ (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8722/2555)