การซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบในร้านสุกี้แบบสายพานกับความผิดฐานปลอมเอกสาร
การซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบในร้านสุกี้แบบสายพานกับความผิดฐานปลอมเอกสาร
494 Views
ปัจจุบันกระแสสุกี้เสียบไม้แบบสายพานได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะลูกค้าสามารถกำหนดราคาและปริมาณของอาหารได้เอง ทำให้มีลูกค้าบางรายอาศัยโอกาสที่พนักงานตรวจสอบไม่ทั่วถึงซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบก่อนที่พนักงานจะทำการคิดเงิน จึงมีคำถามว่า การที่ลูกค้าซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบเพื่อต้องการจ่ายค่าอาหารให้น้อยลงจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
เมื่อเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 1(7) “หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น ดังนั้น เอกสารจะมีขึ้นในรูปใด ๆ ก็ได้ ในความหมายนี้ ไม้เสียบวัตถุดิบจึงถือเป็นเอกสารอย่างหนึ่ง และถือเป็นเอกสารสิทธิตามคำนิยามในมาตรา 1(9) ด้วย เนื่องจากเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในการคิดคำนวณค่าอาหาร การซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบเพื่อให้มีจำนวนที่ลดลงจึงเป็นการตัดทอนหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ว.1 ซึ่งให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ว.1 ประกอบมาตรา 265 เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 ว.2
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
เมื่อเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 1(7) “หมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใดซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผัง หรือแผนแบบอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพ หรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้น ดังนั้น เอกสารจะมีขึ้นในรูปใด ๆ ก็ได้ ในความหมายนี้ ไม้เสียบวัตถุดิบจึงถือเป็นเอกสารอย่างหนึ่ง และถือเป็นเอกสารสิทธิตามคำนิยามในมาตรา 1(9) ด้วย เนื่องจากเป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิในการคิดคำนวณค่าอาหาร การซ่อนไม้ที่ใช้เสียบวัตถุดิบเพื่อให้มีจำนวนที่ลดลงจึงเป็นการตัดทอนหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง จึงมีความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ว.1 ซึ่งให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268 ว.1 ประกอบมาตรา 265 เพียงกระทงเดียวตามมาตรา 268 ว.2
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ