การกดไลค์โพสต์ซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่น ผู้กดไลค์จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือไม่

331 Views
โลกโซเชี่ยลในปัจจุบันมีการนำเสนอข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมกันอย่างรุนแรง หลายเรื่องเป็นการพาดพิงถึงบุคคลอื่นในทางที่เสื่อมเสียจนเกินกว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตที่ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนที่จะสามารถกระทำได้จนกลายเป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่นซึ่งบางครั้งผู้โพสต์เพียงต้องการยอดไลค์ของผู้ที่เข้ามาดูข้อความดังกล่าวเท่านั้น จึงมีคำถามว่า การกดไลค์โพสต์ซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาทผู้อื่น ผู้กดไลค์จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือไม่
 
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) มีหลักว่า “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ....(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” ดังนั้น ปัจจุบันจึงไม่อาจดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้อีกต่อไป แต่ผู้เสียหายยังคงมีสิทธิดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญาได้ # การกดไลค์นอกจากจะเป็นการแสดงความคิดเห็นของผู้กดไลค์แล้วยังทำให้เพื่อนของผู้กดไลค์มีโอกาสได้เห็นข้อความดังกล่าวด้วย จึงเปรียบเสมือนการเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบข้อความที่หมิ่นประมาทนั้น อย่างไรก็ดี การจะตีความเจตนาของผู้กดไลค์ว่าต้องการใส่ความผู้เสียหายและเผยแพร่ข้อความดังกล่าวหรือไม่นั้นต้องดูเป็นรายกรณีว่ามีเจตนาอย่างไร แต่สำหรับผู้ที่แสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นการใส่ความผู้อื่นนั้นย่อมมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ.มาตรา 328 อย่างชัดเจน
 

บทความอื่นๆ