การที่ลูกจ้างระบุในใบสมัครงานว่าสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยอันเป็นเท็จจะทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นโมฆียะหรือไม่ และต่อมาหากนายจ้างทราบข้อเท็จจริงแล้วประสงค์จะเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ และการเลิกจ้างดังกล่าวถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การที่ลูกจ้างระบุในใบสมัครงานว่าสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยอันเป็นเท็จจะทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นโมฆียะหรือไม่ และต่อมาหากนายจ้างทราบข้อเท็จจริงแล้วประสงค์จะเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ และการเลิกจ้างดังกล่าวถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
292 Views
เป็นที่ทราบกันดีว่าทักษะความสามารถและคุณสมบัติที่น่าสนใจจะช่วยให้เรามีโอกาสได้รับคัดเลือกเพื่อเข้าทำงานในบริษัทที่ดีและมีชื่อเสียง นอกจากประสบการณ์ในการทำงานแล้ว ประวัติการศึกษาของผู้สมัครคือคุณสมบัติแรกที่นายจ้างจะให้ความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องมือชี้วัดถึงความสามารถและความสำเร็จบางประการในอดีตของผู้สมัครได้ โดยเฉพาะในสายงานกฎหมาย จึงมีคำถามว่า การที่ลูกจ้างระบุในใบสมัครงานว่าสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทยอันเป็นเท็จจะทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นโมฆียะหรือไม่ และต่อมาหากนายจ้างทราบข้อเท็จจริงแล้วประสงค์จะเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ และการเลิกจ้างดังกล่าวถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่
การที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานนั้นเพราะเห็นว่าลูกจ้างเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายและมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน การเป็นเนติบัณฑิตไทยหาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงานไม่ เพียงแต่ทำให้ลูกจ้างดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น การที่ลูกจ้างระบุในใบสมัครงานว่าเป็นเนติบัณฑิตไทยอันเป็นเท็จ สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียกรรม
แม้ขณะที่ลูกจ้างยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับนายจ้างจะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงาน ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างกัน กฎและมาตรฐานความประพฤติของนายจ้างจึงยังไม่มีผลบังคับกับลูกจ้างอันจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีกรอกข้อความในใบสมัครอันเป็นเท็จไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างเข้าทำงานกับนายจ้างแล้ว การที่นายจ้างทำประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของลูกจ้างโดยระบุว่าลูกจ้างเป็นเนติบัณฑิตไทยตามที่ลูกจ้างระบุไว้ในใบสมัครอันเป็นเท็จซึ่งลูกจ้างตรวจแล้วรับรองว่าถูกต้องนั้น ย่อมเป็นการกระทำผิดข้อบังคับและมาตรฐานความประพฤติของลูกจ้างและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว แต่ไม่เป็นกรณีร้ายแรง ดังนั้น ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับค่าชดเชยตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 อย่างไรก็ดี การที่ลูกจ้างได้แจ้งคุณวุฒิด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อนายจ้างในใบสมัครงาน และในการทำงานลูกจ้างให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านวิชาชีพของลูกจ้างอันเป็นเท็จ เป็นการทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ขาดความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549)
การที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานนั้นเพราะเห็นว่าลูกจ้างเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางกฎหมายและมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน การเป็นเนติบัณฑิตไทยหาใช่สาระสำคัญของสัญญาจ้างแรงงานไม่ เพียงแต่ทำให้ลูกจ้างดูมีคุณสมบัติเด่นเป็นพิเศษ มีความน่าเชื่อถือและน่าไว้วางใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นเท่านั้น การที่ลูกจ้างระบุในใบสมัครงานว่าเป็นเนติบัณฑิตไทยอันเป็นเท็จ สัญญาจ้างแรงงานดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียกรรม
แม้ขณะที่ลูกจ้างยื่นใบสมัครเข้าทำงานกับนายจ้างจะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนที่นายจ้างจะรับลูกจ้างเข้าทำงาน ความสัมพันธ์ดังกล่าวยังมิได้เป็นลูกจ้างนายจ้างกัน กฎและมาตรฐานความประพฤติของนายจ้างจึงยังไม่มีผลบังคับกับลูกจ้างอันจะถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีกรอกข้อความในใบสมัครอันเป็นเท็จไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างเข้าทำงานกับนายจ้างแล้ว การที่นายจ้างทำประวัติข้อมูลการศึกษาและประวัติการทำงานของลูกจ้างโดยระบุว่าลูกจ้างเป็นเนติบัณฑิตไทยตามที่ลูกจ้างระบุไว้ในใบสมัครอันเป็นเท็จซึ่งลูกจ้างตรวจแล้วรับรองว่าถูกต้องนั้น ย่อมเป็นการกระทำผิดข้อบังคับและมาตรฐานความประพฤติของลูกจ้างและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว แต่ไม่เป็นกรณีร้ายแรง ดังนั้น ลูกจ้างจึงชอบที่จะได้รับค่าชดเชยตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 อย่างไรก็ดี การที่ลูกจ้างได้แจ้งคุณวุฒิด้านวิชาชีพอันเป็นเท็จต่อนายจ้างในใบสมัครงาน และในการทำงานลูกจ้างให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านวิชาชีพของลูกจ้างอันเป็นเท็จ เป็นการทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ขาดความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงมีเหตุอันสมควรและไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2549)