คนโสดซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กับเงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตาย
คนโสดซึ่งเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กับเงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตาย
235 Views
ในยุคสังคมสมัยใหม่ที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการมีครอบครัว จากสถิติ ประเทศไทยจึงมีคนโสดที่อยู่ในช่วงวัยทำงานทั้งสิ้นประมาณ 17 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ เมื่อเงินสงเคราะห์กรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายถือเป็นสิทธิประโยชน์ทดแทนอย่างหนึ่ง จึงมีคำถามว่า กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นคนโสด หากไม่ได้ทำหนังสือมอบสิทธิประโยชน์ในเงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตายไว้ และไม่มีสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร บุคคลใดจะมีสิทธิได้รับเงินดังกล่าว
ประกันสังคม (Social Security หรือ Social Insurance) ถือเป็นสวัสดิการของรัฐในรูปแบบหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจการเมืองและความพร้อมทางการเงินการคลังของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นมี พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมายแม่บทในการดำเนินงานด้านประกันสังคมเพื่อความมั่นคงทางสังคมของผู้ประกันตน ทั้งที่เป็นลูกจ้าง ผู้เคยเป็นลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระ # ตามปัญหาข้างต้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นคนโสด เมื่อถึงแก่ความตาย เงินสงเคราะห์ดังกล่าวจะจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน แต่หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือมอบสิทธิประโยชน์ในเงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตายไว้ หรือไม่มีสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร เงินสงเคราะห์ดังกล่าวย่อมกลับคืนสู่กองทุนประกันสังคมเช่นเดิม # กรณีจึงแตกต่างจากเงินค่าทำศพ ซึ่งบุคคลผู้จัดการศพจริงย่อมเป็นผู้ที่มีสิทธิ หรือกรณีของเงินบำเหน็จชราภาพซึ่งแม้ผู้ประกันตนจะมิได้มีสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร หรือได้ทำหนังสือมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่บุคคลใดไว้ ทายาทอื่น เช่น พี่น้องร่วมบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย หรือลุงป้า น้าอา ก็ยังคงมีสิทธิได้รับเงินส่วนนี้อยู่
# กำลังจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (ครั้งแรกของประเทศไทย) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 นี้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ประกันสังคม (Social Security หรือ Social Insurance) ถือเป็นสวัสดิการของรัฐในรูปแบบหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับนโยบายเศรษฐกิจการเมืองและความพร้อมทางการเงินการคลังของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นมี พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมายแม่บทในการดำเนินงานด้านประกันสังคมเพื่อความมั่นคงทางสังคมของผู้ประกันตน ทั้งที่เป็นลูกจ้าง ผู้เคยเป็นลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพอิสระ # ตามปัญหาข้างต้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นคนโสด เมื่อถึงแก่ความตาย เงินสงเคราะห์ดังกล่าวจะจ่ายให้แก่บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าผู้ประกันตนมิได้มีหนังสือระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่สามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนในจำนวนที่เท่ากัน แต่หากผู้ประกันตนไม่ได้ทำหนังสือมอบสิทธิประโยชน์ในเงินสงเคราะห์กรณีถึงแก่ความตายไว้ หรือไม่มีสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร เงินสงเคราะห์ดังกล่าวย่อมกลับคืนสู่กองทุนประกันสังคมเช่นเดิม # กรณีจึงแตกต่างจากเงินค่าทำศพ ซึ่งบุคคลผู้จัดการศพจริงย่อมเป็นผู้ที่มีสิทธิ หรือกรณีของเงินบำเหน็จชราภาพซึ่งแม้ผู้ประกันตนจะมิได้มีสามีหรือภริยา บิดามารดา หรือบุตร หรือได้ทำหนังสือมอบสิทธิประโยชน์ให้แก่บุคคลใดไว้ ทายาทอื่น เช่น พี่น้องร่วมบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย หรือลุงป้า น้าอา ก็ยังคงมีสิทธิได้รับเงินส่วนนี้อยู่
# กำลังจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (ครั้งแรกของประเทศไทย) ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 นี้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ