ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินจากภริยาน้อยหรือไม่
ฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินจากภริยาน้อยหรือไม่
241 Views
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์นั้น “นกเงือก” ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีรักแท้ เพราะเมื่อมันตัดสินใจจะเลือกคู่ชีวิตแล้ว มันจะใช้ชีวิตแบบผัวเดียวเมียเดียวจนกว่าจะตายจากกันไป ซึ่งแตกต่างกับคน ที่ถือว่าเรื่องดังกล่าว “เป็นสิทธิส่วนบุคคล” การมีภริยาน้อยจึงเป็นเรื่องที่พบได้โดยทั่วไปยิ่งในสังคมยุคใหม่ที่ความสะดวกสบายกลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้บางคนยอมที่จะละเลยศีลธรรมและเป็นภริยาน้อยด้วยความสมัครใจเพื่อแลกกับทรัพย์สินหรือเงินทองที่ฝ่ายชายได้มอบให้ในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทน จึงมีคำถามว่า หากฝ่ายชายให้ทรัพย์สินแก่ภริยาน้อยแล้ว ต่อมาเลิกรากันจะมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินดังกล่าวได้หรือไม่
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินได้หรือไม่นั้น ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาว่าภริยาน้อยดังกล่าวมีลักษณะในการคบหากันอย่างไร หากเป็นในลักษณะของคนรักอย่างลับ ๆ เพื่อความพึงพอใจทางเพศ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินเท่านั้น โดยที่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่รับรู้ด้วย กรณีนี้อาจถือได้ว่าภริยาน้อยอยู่ในฐานะบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้น ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกคืนทรัพย์สินนั้นในภายหลังเพราะถือเป็นการให้โดยเสน่หา เว้นแต่ภริยาน้อยจะประพฤติเนรคุณ จนเป็นเหตุให้ฝ่ายชายมีสิทธิขอถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 แต่หากการคบหาดังกล่าวมีลักษณะของการอยู่กินร่วมกันอย่างคนรัก หรือมีลักษณะของการเป็นครอบครัว ย่อมถือว่าฝ่ายชายและภริยาน้อยได้มีการอยู่กินกันฉันท์สามีภริยาแล้ว ทรัพย์สินที่งอกเงยมาจากการทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันเช่นนี้จึงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างฝ่ายชายกับภริยาน้อยซึ่งกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินร่วมกัน กรณีเช่นนี้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเพียงขอแบ่งทรัพย์สินได้แต่เฉพาะส่วนของตนตามมาตรา 1363 เท่านั้น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2506 และ 2012/2506)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายชายจะมีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินได้หรือไม่นั้น ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาว่าภริยาน้อยดังกล่าวมีลักษณะในการคบหากันอย่างไร หากเป็นในลักษณะของคนรักอย่างลับ ๆ เพื่อความพึงพอใจทางเพศ หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินเท่านั้น โดยที่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่รับรู้ด้วย กรณีนี้อาจถือได้ว่าภริยาน้อยอยู่ในฐานะบริวารหรือนางบำเรอเท่านั้น ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกคืนทรัพย์สินนั้นในภายหลังเพราะถือเป็นการให้โดยเสน่หา เว้นแต่ภริยาน้อยจะประพฤติเนรคุณ จนเป็นเหตุให้ฝ่ายชายมีสิทธิขอถอนคืนการให้ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 531 แต่หากการคบหาดังกล่าวมีลักษณะของการอยู่กินร่วมกันอย่างคนรัก หรือมีลักษณะของการเป็นครอบครัว ย่อมถือว่าฝ่ายชายและภริยาน้อยได้มีการอยู่กินกันฉันท์สามีภริยาแล้ว ทรัพย์สินที่งอกเงยมาจากการทำมาหาได้ในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันเช่นนี้จึงเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างฝ่ายชายกับภริยาน้อยซึ่งกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินร่วมกัน กรณีเช่นนี้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเพียงขอแบ่งทรัพย์สินได้แต่เฉพาะส่วนของตนตามมาตรา 1363 เท่านั้น
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2506 และ 2012/2506)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ