ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 289(2)
ความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 289(2)
367 Views
การที่กำนันใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าและเข้าแย่งตัวเพื่อขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมบุตรชายของตนซึ่งพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในงานวัดที่กำนันและตำรวจต่างไปรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณงานดังกล่าวด้วยกัน หากตำรวจใช้อาวุธปืนยิงกำนันจนถึงแก่ความตายจะมีความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 289(2) หรือไม่
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ได้กำหนดให้กำนันซึ่งเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองราษฎรและตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณตำบลที่ตนเองดูแลอยู่ นอกจากนี้ กำนันยังมีอำนาจและหน้าที่ในการที่เกี่ยวด้วยคดีอาญา เช่น เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นหรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นในตำบลของตน กำนันต้องแจ้งต่อนายอำเภอให้รับทราบ หรือเมื่อปรากฏว่าบุคคลใดกำลังจะกระทำผิดกฎหมายหรือมีเหตุควรสงสัยว่าเป็นผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย กำนันต้องจับผู้นั้นไว้และรีบนำส่งต่อนายอำเภอต่อไป ตามปัญหา กำนันและตำรวจจึงต่างเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณงานวัดด้วยกัน การที่ตำรวจจับกุมบุตรชายของกำนันซึ่งกระทำผิดกฎหมายพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เมื่อกำนันใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าและเข้าแย่งตัวเพื่อขัดขวางไม่ให้ตำรวจจับกุมและนำบุตรชายของตนไป ตำรวจจึงใช้อาวุธปืนยิงกำนันจนถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าการที่กำนันใช้อำนาจโดยพลการเข้าขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมบุตรชายของตนเองนั้น เป็นการกระทำที่มิได้ปฏิบัติการในฐานะเจ้าพนักงาน ตำรวจจึงมีผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288 เท่านั้น แต่ไม่มีความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289(2) แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2491 และ 243/2509)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 ได้กำหนดให้กำนันซึ่งเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจหน้าที่ในการปกครองราษฎรและตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณตำบลที่ตนเองดูแลอยู่ นอกจากนี้ กำนันยังมีอำนาจและหน้าที่ในการที่เกี่ยวด้วยคดีอาญา เช่น เมื่อทราบข่าวว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเกิดขึ้นหรือสงสัยว่าได้เกิดขึ้นในตำบลของตน กำนันต้องแจ้งต่อนายอำเภอให้รับทราบ หรือเมื่อปรากฏว่าบุคคลใดกำลังจะกระทำผิดกฎหมายหรือมีเหตุควรสงสัยว่าเป็นผู้ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย กำนันต้องจับผู้นั้นไว้และรีบนำส่งต่อนายอำเภอต่อไป ตามปัญหา กำนันและตำรวจจึงต่างเป็นเจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณงานวัดด้วยกัน การที่ตำรวจจับกุมบุตรชายของกำนันซึ่งกระทำผิดกฎหมายพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เมื่อกำนันใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้าและเข้าแย่งตัวเพื่อขัดขวางไม่ให้ตำรวจจับกุมและนำบุตรชายของตนไป ตำรวจจึงใช้อาวุธปืนยิงกำนันจนถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าการที่กำนันใช้อำนาจโดยพลการเข้าขัดขวางมิให้ตำรวจจับกุมบุตรชายของตนเองนั้น เป็นการกระทำที่มิได้ปฏิบัติการในฐานะเจ้าพนักงาน ตำรวจจึงมีผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตาม ป.อ.มาตรา 288 เท่านั้น แต่ไม่มีความผิดฐานฆ่าเจ้าพนักงานตามมาตรา 289(2) แต่อย่างใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2491 และ 243/2509)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ