รถเข็นขายโรตีเป็นรถตามความหมายของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือไม่
รถเข็นขายโรตีเป็นรถตามความหมายของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือไม่
337 Views
ลักษณะของรถเข็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นบนบุแผ่นแสตนเลส เจาะหลุมวางเตาและกระทะ ภายในตู้มีที่วางถังแก๊สปิกนิกและมีที่ตั้งเสาร่มอยู่ตำแหน่งกลางรถ มีล้อหลังขนาดใหญ่ 2 ล้อ และล้อหน้าขนาดเล็ก 2 ล้อ คงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากรถเข็นขาย"โรตี" ซึ่งเป็นเมนูของว่างหรืออาหารทานเล่นที่หลายๆ คนรู้จักเป็นอย่างดี และเรามักจะพบรถดังกล่าวได้ทั่วไปตามท้องถนน ริมทางเท้า หรือแม้แต่ตามซอกซอยต่างๆ จึงมีคำถามว่า รถเข็นขายโรตีเป็นรถตามความหมายของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 หรือไม่
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (15) ได้นิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่ รถไฟและรถราง และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" หมายถึง เครื่องนำไป พาหนะต่างๆ เช่น รถ เกวียน เรือ ส่วนคำว่า "พาหนะ" หมายถึง เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่างๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า “ขับ” คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น เมื่อรถเข็นขายโรตีเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 4 (15) ได้นิยามคำว่า"รถ" ไว้ว่ายานพาหนะทางบกทุกชนิด เว้นแต่ รถไฟและรถราง และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้กำหนดความหมายของคำว่า "ยาน" หมายถึง เครื่องนำไป พาหนะต่างๆ เช่น รถ เกวียน เรือ ส่วนคำว่า "พาหนะ" หมายถึง เครื่องนำไป เครื่องขับขี่ ยานต่างๆ มีรถและเรือ เป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ กับกำหนดความหมายของคำว่า “ขับ” คือบังคับให้เคลื่อนไป เช่น ขับรถ ขับเรือ เป็นต้น เมื่อรถเข็นขายโรตีเป็นเพียงวัสดุอุปกรณ์และเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพขายโรตี มิใช่ด้วยเจตนามุ่งประสงค์ในอันที่จะขนเคลื่อนบุคคลหรือทรัพย์สินใดจากที่แห่งหนึ่งไปยังที่อีกแห่งหนึ่งในลักษณะของยานพาหนะ จึงมิใช่ "รถ" ตามความหมายที่บทบัญญัตินิยามไว้ดังกล่าว และย่อมไม่อยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2543)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ