สูญหายหรือสาบสูญครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะถือว่าเสียชีวิตโดยอัตโนมัติหรือไม่
สูญหายหรือสาบสูญครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะถือว่าเสียชีวิตโดยอัตโนมัติหรือไม่
15 Views

จากเหตุการณ์อาคารก่อสร้างถล่มเนื่องจากแผ่นดินไหวในประเทศเพื่อนบ้าน อาจทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า กรณีคนไทยไปทำงานที่ต่างประเทศแล้วสูญหายหรือสาบสูญครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จะถือว่าเสียชีวิตโดยอัตโนมัติหรือไม่ และในกรณีเช่นนี้นายทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร
- ป.พ.พ.มาตรา 61 มีหลักว่า “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาดังกล่าวให้ลดเหลือ 2 ปี หากเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือ (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป หรือ (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น” และมาตรา 62 มีหลักว่า “บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61” จากบทบัญญัติดังกล่าว บุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ยังไม่ถือเป็นคนสาบสูญโดยอัตโนมัติ แต่จะถือว่าเป็นคนสาบสูญต่อเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องของผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ และเมื่อศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว จึงจะถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายโดยผลของกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ครบกำหนด 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี # อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่สามารถยืนยันการเสียชีวิตได้แน่ชัด นายทะเบียนท้องที่จึงไม่สามารถออกมรณบัตรให้ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ แต่จะดำเนินการจำหน่ายชื่อและรายการของผู้สาบสูญออกจากทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฉบับสำนักทะเบียนเท่านั้น # นอกจากนี้ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามมาตรา 61 มิได้จำกัดสถานที่เกิดเหตุว่าจะต้องเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ดังนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น ณ ที่ใด ก็สามารถร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเป็นบุคคลสาบสูญได้ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกัน
# ที่มา: หนังสือตอบข้อหารือ เรื่อง การออกมรณบัตรกรณีบุคคลสูญหายหรือสาบสูญ ของสำนักการสอบสวนและนิติการ (วังไชยา) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย
- ป.พ.พ.มาตรา 61 มีหลักว่า “ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา 5 ปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้ อย่างไรก็ดี ระยะเวลาดังกล่าวให้ลดเหลือ 2 ปี หากเข้าเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว หรือ (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทาง อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป หรือ (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น” และมาตรา 62 มีหลักว่า “บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ในมาตรา 61” จากบทบัญญัติดังกล่าว บุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ยังไม่ถือเป็นคนสาบสูญโดยอัตโนมัติ แต่จะถือว่าเป็นคนสาบสูญต่อเมื่อศาลมีคำสั่งตามคำร้องของผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ และเมื่อศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้ว จึงจะถือว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายโดยผลของกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ครบกำหนด 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี # อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่สามารถยืนยันการเสียชีวิตได้แน่ชัด นายทะเบียนท้องที่จึงไม่สามารถออกมรณบัตรให้ผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญได้ แต่จะดำเนินการจำหน่ายชื่อและรายการของผู้สาบสูญออกจากทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านและฉบับสำนักทะเบียนเท่านั้น # นอกจากนี้ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามมาตรา 61 มิได้จำกัดสถานที่เกิดเหตุว่าจะต้องเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ดังนั้น ไม่ว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น ณ ที่ใด ก็สามารถร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเป็นบุคคลสาบสูญได้ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกัน
# ที่มา: หนังสือตอบข้อหารือ เรื่อง การออกมรณบัตรกรณีบุคคลสูญหายหรือสาบสูญ ของสำนักการสอบสวนและนิติการ (วังไชยา) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย