ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แล้วถูกผู้กู้หลอกให้มอบเงินกู้ ถือเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่

15 Views
แม้ผู้ให้กู้จะหลงเชื่อคำหลอกลวงของผู้กู้จนเป็นเหตุให้ผู้ให้กู้มอบเงินกู้ให้แก่ผู้กู้ไปก็ตาม แต่เมื่อการกู้ยืมเงินดังกล่าว ผู้ให้กู้ได้คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 มาตรา 4(1) ประกอบกับ ป.พ.พ.มาตรา 654 ย่อมแสดงว่าผู้ให้กู้มีเจตนามุ่งต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมายของตนเองด้วย จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต ผู้ให้กู้จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(4) และไม่มีอำนาจฟ้องร้องขอให้ลงโทษผู้กู้ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
 
หมายเหตุ: แม้ผู้ให้กู้จะไม่มีสถานะเป็นผู้เสียหายในทางอาญา แต่ในทางแพ่ง “หนี้เงินต้นยังคงมีผลตามกฎหมาย” เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเป็นการให้โดยเสน่หา หรือมีเจตนาแฝงอื่น เมื่อดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตกเป็นโมฆะ ไม่อาจเรียกร้องได้ เงินที่ผู้กู้ชำระไปแล้วจึงต้องนำไปหักลดยอดเงินต้นทั้งหมด
 
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2358/2564, 2131/2560)
 
📚 อ่านบทความย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่
• เว็บไซต์: https://lombonlawoffice.com
• เพจ Facebook: เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย

บทความอื่นๆ