การขอถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362
การขอถอนคำร้องทุกข์ในคดีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362
677 Views
จำเลยบุกรุกบ้านของผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) พนักงานสอบสวนจึงมีความเห็นควรสั่งฟ้องในความผิดฐานบุกรุก และพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 362 จำคุก 6 เดือน ต่อมา จำเลยขอเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมเป็นเงินจำนวน 65,000 บาท แต่ขอชำระก่อนจำนวน 50,000 บาท โดยอีก 15,000 บาท จะขอชำระในภายหลัง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนสั่งรับฎีกาโดยระบุว่า “โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท ไม่ประสงค์จะติดใจเอาความใด ๆ กับจำเลยอีก และประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์ หรือขอให้ศาลลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษแก่จำเลย” และท้ายคำร้องดังกล่าวจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย จึงมีคำถามว่า ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอย่างไร และหากต่อมา ปรากฏว่าจำเลยไม่ชดใช้เงินอีกจำนวน 15,000 บาทให้แก่โจทก์ร่วมตามที่ตกลง ผลจะเป็นอย่างไร
ตามคำร้องของโจทก์ร่วม ระบุว่า โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท โจทก์ร่วมในฐานะผู้เสียหายในคดีนี้จึงไม่ติดใจเอาความใด ๆ กับจำเลยอีก และประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์ หรือขอให้ศาลลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษแก่จำเลย และท้ายคำร้องดังกล่าวจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย กรณีจึงพอแปลความได้ว่าโจทก์ร่วมมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว หรือหากศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ ก็ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในสถานเบาเท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งได้ และเมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะยังไม่ได้รับชดใช้เงินอีกจำนวน 15,000 บาท ก็ไม่อาจทำให้คำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ที่มีผลแล้วสิ้นผลไปได้ ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8577/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ตามคำร้องของโจทก์ร่วม ระบุว่า โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท โจทก์ร่วมในฐานะผู้เสียหายในคดีนี้จึงไม่ติดใจเอาความใด ๆ กับจำเลยอีก และประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์ หรือขอให้ศาลลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษแก่จำเลย และท้ายคำร้องดังกล่าวจำเลยก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย กรณีจึงพอแปลความได้ว่าโจทก์ร่วมมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์แล้ว หรือหากศาลไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ ก็ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในสถานเบาเท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362, 365 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตามมาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัว ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องถือว่าคดีนี้เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์ร่วมจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ก่อนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกา เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งได้ และเมื่อโจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะยังไม่ได้รับชดใช้เงินอีกจำนวน 15,000 บาท ก็ไม่อาจทำให้คำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ที่มีผลแล้วสิ้นผลไปได้ ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8577/2551)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ