ลิขสิทธิ์มีศักดิ์ที่เหนือกว่ากฎ Must Have หรือ Must Carry หรือไม่

435 Views
ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว กสทช.ได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ.2555 หรือที่รู้จักกันว่ากฎ Must Have กฎดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรม เสมอภาคและทั่วถึงกัน โดยมี 7 รายการถ่ายทอดสดกีฬาสำคัญที่เป็นรายการโทรทัศน์ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการแบบฟรีทีวีเท่านั้น คือ การแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย กีฬาซีเกมส์ กีฬาเอเชียนเกมส์ กีฬาเอเชียนพาราเกมส์ กีฬาอาเซียนพาราเกมส์ กีฬาโอลิมปิก และกีฬาพาราลิมปิก นอกจากนี้ กสทช.ยังได้ออกหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หรือที่รู้จักกันว่ากฎ Must Carry เพื่อเป็นการบังคับผู้ให้บริการโทรทัศน์ทุกรายที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. นำช่องฟรีทีวีดังกล่าวไปออกอากาศได้ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางเสาอากาศ จานดาวเทียม เคเบิลทีวี รวมทั้งช่องทางออนไลน์ทุกประเภท โดยต้องไม่มีการตัดสัญญาณการออกอากาศ ดังนั้น แม้ว่าลิขสิทธิ์จะหมายถึงสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่สิทธิที่จะกระทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใด หรือวิธีใด รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปกระทำเช่นว่านั้นด้วย เมื่อกฎซึ่งออกโดย กสทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ หมายถึงข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับผู้ให้บริการโทรทัศน์ทุกรายต้องปฏิบัติตาม ในกรณีนี้ ลิขสิทธิ์จึงไม่มีศักดิ์ที่เหนือกว่ากฎ Must Have หรือ Must Carry ผู้ที่ได้สิทธิการถ่ายทอดสดภายหลังจากที่มีการบังคับใช้กฎดังกล่าวจึงต้องนำ 7 รายการถ่ายทอดสดกีฬาสำคัญให้บริการแก่ประชาชนโดยทั่วไปผ่านการออกอากาศในทุกช่องทาง # แต่ไม่ตัดสิทธิ์ในการได้รับค่าชดเชย
# ฟุตบอลโลก
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ