ผู้ถูกรุกรานจะอ้างป้องกันในทุกกรณีได้หรือไม่
ผู้ถูกรุกรานจะอ้างป้องกันในทุกกรณีได้หรือไม่
366 Views
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “นักเลง” ไว้ว่า หมายถึง (1) ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้นๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน (2) ผู้เกะกะระราน และ (3) มีใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง เป็นต้น คำว่านักเลงจึงอาจมีความหมายในทางที่เป็นบวกหรือลบก็ได้ อย่างไรก็ดี ภาพของนักเลงในปัจจุบันมักจะถูกสื่อออกมาในรูปแบบของการใช้ความรุนแรง การชวนทะเลาะ และการทำร้ายร่างกายผู้อื่นเสียส่วนใหญ่ หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว วิธีการแก้ไขปัญหาย่อมส่งผลถึงความรับผิดในอนาคตของผู้กระทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีคำถามว่า ผู้ถูกรุกรานจะอ้างป้องกันในทุกกรณีได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
การกระทำโดยป้องกันมีหลักอยู่ใน ป.อ. มาตรา 68 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด” จากหลักกฎหมายดังกล่าว การจะอ้างป้องกันได้นั้น ภัยที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และผู้ที่อ้างป้องกันจะต้องกระทำในขณะที่ภยันตรายดังกล่าวนั้นใกล้จะถึงหรือยังคงมีอยู่ด้วย โดยกระทำต่อผู้ก่อเหตุ เพื่อป้องสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น กฎหมายจึงจะถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด จากคำถามข้างต้น ผู้กระทำจึงไม่อาจอ้างป้องกันเพื่อให้พ้นจากความรับผิดได้ในทุกกรณี แต่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์เฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ตายกับพวกซึ่งเคยมีเรื่องกับจำเลยมาก่อนวันเกิดเหตุ ยกพวกกันมาถึงหน้าบ้านแล้วร้องด่าท้าทายขู่เข็ญข้างนอกบ้านอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังขว้างปาสิ่งของเข้าไปในบ้าน จนจำเลยระงับโทสะไม่อยู่ คว้ามีด 2 เล่ม ยาวทั้งด้ามรวม 8 นิ้ว ออกจากบ้านไล่ตามหลังผู้ตายไปทัน จึงฟันและแทงผู้ตายหลายครั้ง โดยเฉพาะบาดแผลที่อกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้อื่น และไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เนื่องจากถูกผู้ตายกับพวกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ระหว่างจำเลยกับผู้ตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ แอดอินเชื่อว่า หากพวกเรามีการชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจที่ดี และเลือกที่จะตอบโต้ผู้กระทำความผิดในเวลาที่เหมาะสมย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พวกเราสามารถอ่านเนื้อหาที่แอดมินได้เคยลงไว้แล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 นะครับ
การกระทำโดยป้องกันมีหลักอยู่ใน ป.อ. มาตรา 68 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตน หรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด” จากหลักกฎหมายดังกล่าว การจะอ้างป้องกันได้นั้น ภัยที่เกิดขึ้นจะต้องเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และผู้ที่อ้างป้องกันจะต้องกระทำในขณะที่ภยันตรายดังกล่าวนั้นใกล้จะถึงหรือยังคงมีอยู่ด้วย โดยกระทำต่อผู้ก่อเหตุ เพื่อป้องสิทธิของตนเองหรือของผู้อื่น กฎหมายจึงจะถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด จากคำถามข้างต้น ผู้กระทำจึงไม่อาจอ้างป้องกันเพื่อให้พ้นจากความรับผิดได้ในทุกกรณี แต่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์เฉพาะเรื่องนั้นๆ เป็นสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ตายกับพวกซึ่งเคยมีเรื่องกับจำเลยมาก่อนวันเกิดเหตุ ยกพวกกันมาถึงหน้าบ้านแล้วร้องด่าท้าทายขู่เข็ญข้างนอกบ้านอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังขว้างปาสิ่งของเข้าไปในบ้าน จนจำเลยระงับโทสะไม่อยู่ คว้ามีด 2 เล่ม ยาวทั้งด้ามรวม 8 นิ้ว ออกจากบ้านไล่ตามหลังผู้ตายไปทัน จึงฟันและแทงผู้ตายหลายครั้ง โดยเฉพาะบาดแผลที่อกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำว่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้ ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้อื่น และไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวต่อเนื่องกระชั้นชิดกับที่จำเลยยังมีโทสะอยู่ เนื่องจากถูกผู้ตายกับพวกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม ระหว่างจำเลยกับผู้ตาย จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ แอดอินเชื่อว่า หากพวกเรามีการชั่งน้ำหนักในการตัดสินใจที่ดี และเลือกที่จะตอบโต้ผู้กระทำความผิดในเวลาที่เหมาะสมย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
สำหรับบทความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ พวกเราสามารถอ่านเนื้อหาที่แอดมินได้เคยลงไว้แล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 นะครับ