การจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ในโครงการที่อยู่อาศัยของตนเองนั้นจะต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
การจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ในโครงการที่อยู่อาศัยของตนเองนั้นจะต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
88 Views
แต่เดิมธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ (Delivery) เป็นการดำเนินธุรกิจร้านอาหารควบคู่กับการให้บริการจัดส่งอาหารให้แก่ลูกค้าภายในพื้นที่ที่กำหนด อย่างไรก็ดี ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 แพร่ระบาด พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดแนวคิดและอาชีพใหม่คือการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ผ่านไลน์กลุ่ม (LINE Group) ของหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียมที่ตนเองอาศัยอยู่ จึงมีคำถามว่า การจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ดังกล่าวนั้นจะต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานหรือไม่
แม้การผลิตและจำหน่ายอาหารตามสั่งที่หน้าร้านของตนเองหรือการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ ไม่จำเป็นจะต้องขออนุญาตต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากเป็นอาหารประเภทที่ปรุงสุกตามสั่ง หรือพร้อมจัดส่งให้กับผู้บริโภคโดยทันที แต่การใช้บ้านหรือคอนโดมิเนียมที่ตนเองอาศัยอยู่เป็นสถานที่ผลิต จำหน่าย และสะสมอาหารนั้น ถือเป็นการใช้อาคารและที่พักอาศัยผิดประเภท นอกจากจะเป็นการผิดเงื่อนไขและข้อบังคับของนิติบุคคลที่ตนเองอาศัยอยู่แล้ว ยังเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ซึ่งมีการกำหนดให้สถานที่จำหน่ายอาหารนั้นจะต้องมี พื้น ผนัง และเพดานที่สะอาด ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงไม่ชำรุด ต้องทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศที่เพียงพอ มีแสงสว่างที่เหมาะสม ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและมีการคัดแยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย มีการแยกไขมันไปกำจัดก่อนการระบายน้ำทิ้ง ต้องมีมาตรการในการป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคตามหลักวิชาการ ต้องมีมาตรการและอุปกรณ์หรือเครื่องสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร รวมทั้งต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดและอาหารแห้งที่เป็นสัดส่วนและปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้บ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นสถานที่ ผลิต จำหน่าย และสะสมอาหาร ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางและการใช้ชีวิตประจำวันของคนในโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในเรื่องของเสียง กลิ่น ความสะอาด รวมทั้งความปลอดภัย เนื่องจากมีบุคคลภายนอก เช่น พนักงานส่งอาหาร หรือไรเดอร์ (Rider) เข้าออกโครงการมากขึ้น ดังนั้น แม้จะเป็นการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ในโครงการที่อยู่อาศัยของตนเอง จึงต้องยื่นขออนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการเปิดให้บริการ เช่นเดียวกับ ร้านค้าสะดวกซื้อ มินิมาร์ท หรือร้านขายของชำ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามขนาดของพื้นที่ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 72
# พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 72 มีหลักว่า
ว.1 ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามมาตรา 38 ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ว. 2 ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตาม ว.1 ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร โดยไม่มีหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท
# กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 :
https://laws.anamai.moph.go.th/th/ministry-rule/download/?did=204266&id=71586&reload=
# ในกรณีที่มีการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ให้กับ “คนกลาง” เพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง จะต้องขออนุญาตกับทาง อย.
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้การผลิตและจำหน่ายอาหารตามสั่งที่หน้าร้านของตนเองหรือการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ ไม่จำเป็นจะต้องขออนุญาตต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เนื่องจากเป็นอาหารประเภทที่ปรุงสุกตามสั่ง หรือพร้อมจัดส่งให้กับผู้บริโภคโดยทันที แต่การใช้บ้านหรือคอนโดมิเนียมที่ตนเองอาศัยอยู่เป็นสถานที่ผลิต จำหน่าย และสะสมอาหารนั้น ถือเป็นการใช้อาคารและที่พักอาศัยผิดประเภท นอกจากจะเป็นการผิดเงื่อนไขและข้อบังคับของนิติบุคคลที่ตนเองอาศัยอยู่แล้ว ยังเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.2561 ซึ่งมีการกำหนดให้สถานที่จำหน่ายอาหารนั้นจะต้องมี พื้น ผนัง และเพดานที่สะอาด ทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงไม่ชำรุด ต้องทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศที่เพียงพอ มีแสงสว่างที่เหมาะสม ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและมีการคัดแยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย มีการแยกไขมันไปกำจัดก่อนการระบายน้ำทิ้ง ต้องมีมาตรการในการป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคตามหลักวิชาการ ต้องมีมาตรการและอุปกรณ์หรือเครื่องสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร รวมทั้งต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดและอาหารแห้งที่เป็นสัดส่วนและปลอดภัยต่อผู้บริโภคด้วย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้บ้านหรือคอนโดมิเนียมเป็นสถานที่ ผลิต จำหน่าย และสะสมอาหาร ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางและการใช้ชีวิตประจำวันของคนในโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในเรื่องของเสียง กลิ่น ความสะอาด รวมทั้งความปลอดภัย เนื่องจากมีบุคคลภายนอก เช่น พนักงานส่งอาหาร หรือไรเดอร์ (Rider) เข้าออกโครงการมากขึ้น ดังนั้น แม้จะเป็นการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ในโครงการที่อยู่อาศัยของตนเอง จึงต้องยื่นขออนุญาตหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการเปิดให้บริการ เช่นเดียวกับ ร้านค้าสะดวกซื้อ มินิมาร์ท หรือร้านขายของชำ สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนจะต้องระวางโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามขนาดของพื้นที่ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 72
# พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มาตรา 72 มีหลักว่า
ว.1 ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตามมาตรา 38 ซึ่งมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ว. 2 ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารตาม ว.1 ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร โดยไม่มีหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท
# กฎกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 :
https://laws.anamai.moph.go.th/th/ministry-rule/download/?did=204266&id=71586&reload=
# ในกรณีที่มีการจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ให้กับ “คนกลาง” เพื่อนำไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง จะต้องขออนุญาตกับทาง อย.
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ