ค่าชดเชยถือเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และเมื่อลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทายาทของลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างได้หรือไม่ อย่างไร
ค่าชดเชยถือเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และเมื่อลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทายาทของลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างได้หรือไม่ อย่างไร
704 Views
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ได้ให้ความหมายของคำว่า ค่าชดเชย หรือ Severance Pay ไว้ว่าหมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตามความหมายดังกล่าว ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้ว่าสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม มีปัญหาว่า ค่าชดเชยถือเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ และเมื่อลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทายาทของลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างได้หรือไม่ อย่างไร
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ดังนั้น เมื่อลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าชดเชยถึงแก่ความตาย จึงเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้ เมื่อทายาททุกคนถือเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง จึงมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงจากนายจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526 และ 1269/2524)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ดังนั้น เมื่อลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าชดเชยถึงแก่ความตาย จึงเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทได้ เมื่อทายาททุกคนถือเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง จึงมีสิทธิเรียกร้องการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้ชำระหนี้สิ้นเชิงจากนายจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 298
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2526 และ 1269/2524)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ