การตั้งโต๊ะที่หน้ามหาวิทยาลัยเพื่อหลอกขายข้อสอบปลอม(ผู้ขายเขียนขึ้นเอง)ให้แก่นักศึกษาโดยหลอกว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบในเทอมนี้ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่
การตั้งโต๊ะที่หน้ามหาวิทยาลัยเพื่อหลอกขายข้อสอบปลอม(ผู้ขายเขียนขึ้นเอง)ให้แก่นักศึกษาโดยหลอกว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบในเทอมนี้ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่
465 Views
แม้การเรียนเก่งจะไม่ได้เป็นการรับประกันถึงการจะประสบความสำเร็จในชีวิตของทุกคน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง คนที่เรียนเก่งนั้นก็มักจะได้รับโอกาสที่มากกว่าคนที่เรียนไม่เก่งอยู่เสมอ โดยเฉพาะการทำงาน เมื่อเครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการเรียนยังคงเป็นผลการสอบ นักศึกษาทุกคนจึงต้องพยายามวางแผนการอ่านหนังสือและทบทวนเนื้อหาให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ดี การได้แนวข้อสอบที่จะออกสอบย่อมเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากได้เพื่อผลการสอบที่ดี หลายคนจึงมักจะตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่อาศัยช่องทางดังกล่าวในการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ จึงมีคำถามว่า การตั้งโต๊ะที่หน้ามหาวิทยาลัยเพื่อหลอกขายข้อสอบปลอม(ผู้ขายเขียนขึ้นเอง)ให้แก่นักศึกษาโดยหลอกว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบในเทอมนี้ เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ความผิดฐานฉ้อโกงตามป.อ.มาตรา 341 มีหลักว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามป.อ.มาตรา 343 นั้นมีหลักว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 343 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องด้วยลักษณะในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 140,000 บาท” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้ขายโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อขายข้อสอบที่ผู้ขายเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบในเทอมนี้ การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามป.อ.มาตรา 343 คงมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 341 เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531)
ความผิดฐานฉ้อโกงตามป.อ.มาตรา 341 มีหลักว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” ส่วนความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามป.อ.มาตรา 343 นั้นมีหลักว่า “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 343 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว ต้องด้วยลักษณะในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 140,000 บาท” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การที่ผู้ขายโฆษณาหลอกลวงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเพื่อขายข้อสอบที่ผู้ขายเขียนขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาที่ซื้อข้อสอบหลงเชื่อว่าเป็นข้อสอบจริงที่จะออกสอบในเทอมนี้ การกระทำดังกล่าวไม่เป็นการหลอกลวงประชาชนทั่วไป จึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตามป.อ.มาตรา 343 คงมีความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 341 เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2531)