การตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินโดยไม่บอกก่อน จะเป็นละเมิดหรือมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่
การตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินโดยไม่บอกก่อน จะเป็นละเมิดหรือมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่
437 Views
ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 นี้ ทำให้พวกเราหลายคนต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงานจากเดิมที่ต้องเดินทางไปที่ทำงานทุกวัน มาเป็นการสลับกันมาทำงาน เพื่อการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ตามที่รัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมกันปฏิบัติกันอย่างจริงจังเพื่อลดจำนวนผู้ที่ติดเชื้อและเสียชีวิต ทำให้พวกเราได้มีโอกาสทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) มีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ (New Normal) และมีเวลาที่จะดูแลและตรวจสอบความเรียบร้อยของบ้านมากขึ้น บ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้น มักจะเป็นบ้านจัดสรร หรือทาวน์ เฮ้าส์ ซึ่งปลูกอยู่ติดกัน เมื่อปลูกต้นไม้จึงมีโอกาสที่กิ่งก้านสาขาจะล้ำเข้ามาในเขตของบ้านที่อยู่ติดกันได้ จึงมีคำถามว่า การตัดกิ่งไม้ของเพื่อนบ้านที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินโดยไม่บอกก่อน จะเป็นละเมิดหรือมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.พ.พ. มาตรา 1347 มีหลักว่า “เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้” เฉพาะประเด็นเรื่องกิ่งไม้รุกล้ำนั้น มาตรานี้ให้อำนาจแก่เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้รุกล้ำเข้ามาสามารถตัดกิ่งไม้นั้นและเอาเป็นประโยชน์ของตนเองได้ แต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน กล่าวคือ ต้องบอกกล่าวแก่ผู้ครอบครองที่ดินที่ติดต่อกันนั้น (ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย เช่น ผู้เช่า เป็นต้น) ว่าให้ตัดกิ่งไม้ที่รุกล้ำเข้ามาเสียก่อนภายในเวลาที่กำหนดตามสมควร หากบุคคลดังกล่าว (เจ้าของต้นไม้) รับทราบแล้วแต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการ เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา ย่อมมีสิทธิที่จะตัดกิ่งไม้นั้นได้เอง และมีสิทธิเอาดอกผลที่ติดกับกิ่งไม้นั้นไว้ด้วย เพราะถือว่าเจ้าของต้นไม้นั้นได้สละสิทธิของตนเองแล้ว อย่างไรก็ดี แม้เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา (ผู้ตัดต้นไม้) จะไม่ได้บอกกล่าวแก่เจ้าของต้นไม้เสียก่อน ก็ไม่เป็นการละเมิดในทางแพ่ง เพราะกฎหมายได้อนุญาตให้ตัดกิ่งไม้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้บอกกล่าวก่อนเท่านั้น กรณีที่ไม่บอกกล่าวก่อนจึงมีผลเพียงทำให้กิ่งไม้ดังกล่าวยังคงเป็นของเจ้าของต้นไม้อยู่ และผู้ที่ตัดกิ่งไม้ที่รุกล้ำจะเอาไว้ซึ่งกิ่งไม้นั้นไม่ได้ ส่วนผู้ตัดต้นไม้จะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเจตนาของผู้กระทำเป็นเรื่องๆ ไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฏ เป็นที่เห็นได้ว่าผู้ตัดต้นไม้ไม่มีเจตนากระทำผิดทางอาญา ย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้จะไม่ได้บอกกล่าวแก่เจ้าของต้นไม้เสียก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา (ผู้ตัดต้นไม้) เพียงแต่กระทำการเพื่อป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่วๆ ไป เพียงแต่มิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วนตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1347 เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2500 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501) และความเห็นของท่านศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ)
ป.พ.พ. มาตรา 1347 มีหลักว่า “เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้” เฉพาะประเด็นเรื่องกิ่งไม้รุกล้ำนั้น มาตรานี้ให้อำนาจแก่เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้รุกล้ำเข้ามาสามารถตัดกิ่งไม้นั้นและเอาเป็นประโยชน์ของตนเองได้ แต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน กล่าวคือ ต้องบอกกล่าวแก่ผู้ครอบครองที่ดินที่ติดต่อกันนั้น (ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของหรือผู้อาศัย เช่น ผู้เช่า เป็นต้น) ว่าให้ตัดกิ่งไม้ที่รุกล้ำเข้ามาเสียก่อนภายในเวลาที่กำหนดตามสมควร หากบุคคลดังกล่าว (เจ้าของต้นไม้) รับทราบแล้วแต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการ เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา ย่อมมีสิทธิที่จะตัดกิ่งไม้นั้นได้เอง และมีสิทธิเอาดอกผลที่ติดกับกิ่งไม้นั้นไว้ด้วย เพราะถือว่าเจ้าของต้นไม้นั้นได้สละสิทธิของตนเองแล้ว อย่างไรก็ดี แม้เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา (ผู้ตัดต้นไม้) จะไม่ได้บอกกล่าวแก่เจ้าของต้นไม้เสียก่อน ก็ไม่เป็นการละเมิดในทางแพ่ง เพราะกฎหมายได้อนุญาตให้ตัดกิ่งไม้ได้อยู่แล้ว เพียงแต่ให้บอกกล่าวก่อนเท่านั้น กรณีที่ไม่บอกกล่าวก่อนจึงมีผลเพียงทำให้กิ่งไม้ดังกล่าวยังคงเป็นของเจ้าของต้นไม้อยู่ และผู้ที่ตัดกิ่งไม้ที่รุกล้ำจะเอาไว้ซึ่งกิ่งไม้นั้นไม่ได้ ส่วนผู้ตัดต้นไม้จะมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเจตนาของผู้กระทำเป็นเรื่องๆ ไป ถ้าตามพฤติการณ์ที่ปรากฏ เป็นที่เห็นได้ว่าผู้ตัดต้นไม้ไม่มีเจตนากระทำผิดทางอาญา ย่อมไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้จะไม่ได้บอกกล่าวแก่เจ้าของต้นไม้เสียก่อน เพราะเป็นเรื่องที่เจ้าของที่ดินที่กิ่งไม้นั้นรุกล้ำเข้ามา (ผู้ตัดต้นไม้) เพียงแต่กระทำการเพื่อป้องกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนตามที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้โดยทั่วๆ ไป เพียงแต่มิได้ปฏิบัติการให้ครบถ้วนตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1347 เท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2500 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2501) และความเห็นของท่านศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ)