การที่ลูกจ้างไม่ยอมตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่
การที่ลูกจ้างไม่ยอมตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่
412 Views
ปัจจุบันโรคไวรัสโควิด 19 ยังคงมีการระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้จะทุเลาความรุนแรงลง แต่ก็ยังมีผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อตัดภาพมาที่ภาคธุรกิจ การที่ลูกจ้างติดเชื้อย่อมส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรและอาจทำให้การทำงานต้องหยุดชะงักลง นายจ้างหลายรายจึงเลือกที่จะใช้วิธีการให้ลูกจ้างตรวจสุขภาพของตนเองเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าลูกจ้างมีสุขภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยต่อเพื่อนร่วมงานตามที่หน่วยงานราชการได้ขอความร่วมมือ จึงมีคำถามว่า การที่ลูกจ้างไม่ยอมตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองตามคำสั่งของนายจ้าง จะถือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 มีหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” ส่วนมาตรา 47 และมาตรา 55 มีหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ” และ “รัฐจะต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุขดังกล่าว ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย นอกจากนี้ รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ในส่วนของพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นั้น “ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ นอกเหนือจากการกำหนดให้บุคคลผู้มีความเสี่ยงจะติดโรคได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วย” เมื่อบุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของตนเอง และถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดหาบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงให้กับประชาชน การตรวจ ATK ด้วยตนเอง จึงต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจของลูกจ้างที่จะยอมรับผลการตรวจและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างตรวจ ATK ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง จึงไม่อาจกระทำได้ และมีสิทธิเพียงขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้น แม้ประโยชน์ของสาธารณะที่จะได้รับความคุ้มครองจะมีความสำคัญมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล และคำสั่งดังกล่าวของนายจ้างจะชอบด้วยกฎหมายและมีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ก็เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมตาม ม.119(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่อย่างใด และกรณีดังกล่าวแตกต่างกับการไม่สวมหน้ากากอนามัยซึ่งมีกฎหมายกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจนแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 มีหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย” ส่วนมาตรา 47 และมาตรา 55 มีหลักว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐ” และ “รัฐจะต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด บริการสาธารณสุขดังกล่าว ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย นอกจากนี้ รัฐต้องพัฒนาการบริการสาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง” ในส่วนของพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 นั้น “ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อมีอำนาจในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ นอกเหนือจากการกำหนดให้บุคคลผู้มีความเสี่ยงจะติดโรคได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วย” เมื่อบุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของตนเอง และถือเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดหาบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงให้กับประชาชน การตรวจ ATK ด้วยตนเอง จึงต้องเกิดขึ้นจากความสมัครใจของลูกจ้างที่จะยอมรับผลการตรวจและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น การที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างตรวจ ATK ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง จึงไม่อาจกระทำได้ และมีสิทธิเพียงขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้น แม้ประโยชน์ของสาธารณะที่จะได้รับความคุ้มครองจะมีความสำคัญมากกว่าสิทธิส่วนบุคคล และคำสั่งดังกล่าวของนายจ้างจะชอบด้วยกฎหมายและมีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่ก็เป็นการสร้างภาระเกินควรให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม การที่ลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมตาม ม.119(4) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แต่อย่างใด และกรณีดังกล่าวแตกต่างกับการไม่สวมหน้ากากอนามัยซึ่งมีกฎหมายกำหนดโทษไว้อย่างชัดเจนแล้ว