ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงจะแจ้งชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาได้หรือไม่
ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงจะแจ้งชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาได้หรือไม่
324 Views
ความต้องการในการมีบุตรถือเป็นปัญหาที่สำคัญระหว่างคู่รัก จากสถิติพบว่ามีคนไทยเป็นจำนวนมากที่ไม่ต้องการมีบุตร เนื่องจากมีความกังวลกับภาระค่าใช้จ่าย สภาพสังคมในปัจจุบัน และความสมดุลระหว่างการงานและครอบครัว ดังนั้น เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ แต่ฝ่ายชายปฏิเสธความรับผิดชอบ จึงแก้ไขปัญหาด้วยการนำบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บิดามาใส่ชื่อในสูติบัตรของบุตร จึงมีคำถามว่า ไม่ใช่บิดาที่แท้จริงจะแจ้งชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาได้หรือไม่
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 มีหลักว่า “ผู้ใด ทำ ใช้ หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือกระทำการเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นมีชื่อหรือมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้านหรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ในกรณีผู้กระทำผิดเป็นคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท” และ ป.อ.มาตรา 267 มีหลักว่า “ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น สูติบัตรหรือใบเกิดถือเป็นเอกสารที่สำคัญชิ้นแรกที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลสัญชาติไทยทุกคน การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่บิดาที่แท้จริงแจ้งชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาจึงเป็นการสวมรอยในการแจ้งเท็จ โดยกระทำการเพื่อให้ตนเอง มีชื่อหรือมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในเอกสารการทะเบียนราษฎรโดยมิชอบ นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังถือเป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนอีกด้วย ผู้แจ้งจึงมีความผิดตามกฎหมาย โดยเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 50 มีหลักว่า “ผู้ใด ทำ ใช้ หรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จ หรือกระทำการเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นมีชื่อหรือมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในทะเบียนบ้านหรือเอกสารการทะเบียนราษฎรอื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ในกรณีผู้กระทำผิดเป็นคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท” และ ป.อ.มาตรา 267 มีหลักว่า “ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น สูติบัตรหรือใบเกิดถือเป็นเอกสารที่สำคัญชิ้นแรกที่ทางราชการออกให้แก่บุคคลสัญชาติไทยทุกคน การที่บุคคลซึ่งไม่ใช่บิดาที่แท้จริงแจ้งชื่อในสูติบัตรว่าเป็นบิดาจึงเป็นการสวมรอยในการแจ้งเท็จ โดยกระทำการเพื่อให้ตนเอง มีชื่อหรือมีรายการอย่างหนึ่งอย่างใดในเอกสารการทะเบียนราษฎรโดยมิชอบ นอกจากนี้ การกระทำดังกล่าวยังถือเป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนอีกด้วย ผู้แจ้งจึงมีความผิดตามกฎหมาย โดยเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ