การที่สามีย้ายไปทำงานที่ต่างจังหวัด แล้วไม่ยอมกลับบ้านเพราะติดพันหญิงอื่น แต่ภริยาก็ยังอนุญาตให้กลับมาที่บ้านได้โดยตลอด จะถือเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่ซึ่งเป็นเหตุฟ้องหย่าได้หรือไม่

316 Views
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภริยาในสมัยก่อนนั้น อยู่ภายใต้ “กฎหมายลักษณะผัวเมีย” ซึ่งอนุญาตให้ผู้ชายสามารถมีเมียได้หลายคน ส่วนผู้หญิงสามารถมีผัวได้เพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะเมียเปรียบเสมือนวัตถุสิ่งของซึ่งเป็นทรัพย์สินของผัว อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. (สมัยรัชกาลที่ ) ได้มีการตรากฎหมายลักษณะครอบครัวที่ใช้ระบบ “ผัวเดียวเมียเดียว”ขึ้นมา เพื่อสร้างความเป็นอารยะและประชาธิปไตยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยมีการรับรองสถานะของผู้หญิงที่เป็นเมีย (ภริยา) ด้วยการจดทะเบียนสมรสและการหย่า จึงทำให้ผู้หญิงเริ่มได้รับสิทธิในด้านต่างๆ มากขึ้น และมีฐานะเท่าเทียมกันกับผู้ชาย ดังจะเห็นได้จาก ป.พ.พ. มาตรา ซึ่งระบุว่า “ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้” อย่างไรก็ดี สามีภริยาหลายคู่อาจมีเหตุหรือความจำเป็นที่จะต้องแยกกันอยู่ ด้วยระยะทางที่ห่างไกล และความเหงา ประกอบกับการที่มีคนอื่นเข้ามาใกล้ชิดผูกพัน อาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเกิดความไขว้เขวและขาดความยับยั้งชั่งใจ จนในที่สุดอาจเกิดความคิดที่อยากจะหย่าขึ้นมา จึงมีคำถามว่า การที่สามีย้ายไปทำงานต่างจังหวัด แล้วไม่ยอมกลับบ้านเพราะติดพันหญิงอื่น แต่ภริยาก็อนุญาตให้กลับมาที่บ้านได้โดยตลอด จะถือเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่ ซึ่งเป็นเหตุฟ้องหย่าได้หรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
 
ป.พ.พ. มาตรา 1516 (4/2) มีหลักว่า กรณี “สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกิน 3 ปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกิน 3 ปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้” พฤติการณ์ที่จะเข้าเหตุหย่าตาม มาตราดังกล่าวข้างต้นนั้น นอกจากสามีภริยาต้องสมัครใจแยกกันอยู่ตลอดมาเกิน 3 ปีแล้ว ยังต้องเป็นการแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติด้วย เมื่อไม่ปรากฎเหตุดังกล่าว และภริยาไม่เคยประพฤติเสียหาย หรือประพฤติชั่วอันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยา แต่กลับได้ความว่าฝ่ายสามีติดพันหญิงอื่น จึงไม่ประสงค์จะอยู่กินกับภริยาและไปจากภูมิลำเนาเสียเอง ทั้งที่ภริยายังเต็มใจที่จะเป็นคู่สมรสของสามีต่อไป สามีเท่านั้นที่สมัครใจแยกไปฝ่ายเดียว จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่สามีและภริยาไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุข จึงไม่เข้าเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4/2)  ไม่ว่าสามีและภริยาจะมีการแยกกันอยู่นานเท่าใดก็ตาม (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2670/2556)

บทความอื่นๆ