นายจ้างมีสิทธิออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ในการจ่ายโบนัสแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างในทุกกรณีใช่หรือไม่
นายจ้างมีสิทธิออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ในการจ่ายโบนัสแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากลูกจ้างในทุกกรณีใช่หรือไม่
332 Views
การกำหนดค่าจ้าง โบนัส และสวัสดิการให้กับลูกจ้างทุกคนนั้น เป็นปัญหาสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของทุกองค์กร ในทางปฏิบัตินายจ้างและฝ่ายบริหารมักจะกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มีการจ่ายค่าจ้าง โบนัส และสวัสดิการให้น้อยที่สุด จึงเป็นที่มาของการเก็บสถิติความประพฤติ และการใช้สิทธิลาประเภทต่างๆ ของลูกจ้างเพื่อประเมินผลการทำงาน จากบทความในครั้งก่อน เราทราบว่าโบนัสเป็นสวัสดิการที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลตอบแทน นอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง โบนัสจึงไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จึงเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี หากนายจ้างมีการตกลงเกี่ยวกับการจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้างทุกปีตลอดมาจนเป็นปกติวิสัย โดยไม่ได้ยึดถือหรือคำนวณจากผลประกอบการหรือกำไรสุทธิเป็นเกณฑ์ แต่พิจารณาจากอายุงานและความขยันหมั่นเพียรของลูกจ้างในการไม่ใช้สิทธิลาเกินกำหนดเป็นสำคัญ ย่อมถือได้ว่าเป็น “สภาพการจ้าง” ที่ตกลงกันโดยปริยาย ซึ่งมีผลผูกพันนายจ้างให้ต้องปฏิบัติตาม นายจ้างจึงออกประกาศ ระเบียบ หรือกฎเกณฑ์ใดให้ขัดหรือแย้งกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายโบนัสนั้นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง # หากนายจ้างออกประกาศเรื่องการจ่ายโบนัสที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างมากกว่าสภาพการจ้างเดิม ประกาศของนายจ้างฉบับดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันเฉพาะลูกจ้างที่ให้ความยินยอมรับเอาเงินโบนัสตามประกาศเท่านั้น
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114 – 8868/2546)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8114 – 8868/2546)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ