การกากบาทลงในเอกสารการกู้ยืมเงิน
การกากบาทลงในเอกสารการกู้ยืมเงิน
242 Views
เนื่องจากสัญญากู้ยืมเงินนั้นไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องทำขึ้นกี่ฉบับ ด้วยเหตุนี้บางครั้งคู่สัญญาจึงมีการทำสัญญากู้ยืมเงินเพียงฉบับเดียวซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาเมื่อสัญญาดังกล่าวตกอยู่ในความครอบครองของผู้กู้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ต้องชำระเงิน จึงมีคำถามว่า การที่ผู้กู้เขียนกากบาทลงในสัญญากู้ยืมเงินโดยพลการเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้แล้วจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารหรือไม่
การที่ผู้กู้เขียนกากบาทลงในสัญญากู้ยืมเงิน แต่มิได้ตัดทอนข้อความหรือแก้ไขในเอกสารที่แท้จริงนั้นให้ผิดไปจากข้อความเดิมแต่ประการใด การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีอะไรที่จะว่าปลอมให้ผิดไปจากความจริง ฉะนั้น แม้ผู้กู้จะกระทำไปโดยพลการเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264
# การแทงเพิกถอนลงในเอกสารการกู้ยืมเงินนั้น ไม่มีรูปแบบ แต่ต้องกระทำโดยผู้ให้กู้เอง หรือบุคคลที่ผู้ให้กู้มอบหมาย และต้องมีลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวไว้ด้วยจึงจะเป็นการแทงเพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ว.2
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2507)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
การที่ผู้กู้เขียนกากบาทลงในสัญญากู้ยืมเงิน แต่มิได้ตัดทอนข้อความหรือแก้ไขในเอกสารที่แท้จริงนั้นให้ผิดไปจากข้อความเดิมแต่ประการใด การกระทำดังกล่าวจึงไม่มีอะไรที่จะว่าปลอมให้ผิดไปจากความจริง ฉะนั้น แม้ผู้กู้จะกระทำไปโดยพลการเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าผู้กู้ได้ชำระหนี้แล้ว ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ.มาตรา 264
# การแทงเพิกถอนลงในเอกสารการกู้ยืมเงินนั้น ไม่มีรูปแบบ แต่ต้องกระทำโดยผู้ให้กู้เอง หรือบุคคลที่ผู้ให้กู้มอบหมาย และต้องมีลายมือชื่อของบุคคลดังกล่าวไว้ด้วยจึงจะเป็นการแทงเพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ว.2
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2507)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ