กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายระหว่างสัญญาจ้างแรงงานยังคงมีผล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับทายาทของลูกจ้างหรือไม่

438 Views
จากบทความในครั้งก่อน เราทราบว่าสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นทรัพย์สิน จึงเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทของลูกจ้างได้ วันนี้แอดมินจึงมีคำถามมาถามพวกเราว่า กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายระหว่างสัญญาจ้างแรงงานยังคงมีผล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับทายาทของลูกจ้างหรือไม่
 
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ค่าชดเชย” ไว้ว่าหมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เมื่อการเลิกจ้างตามมาตรา 118 หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป การเลิกจ้างจึงต้องเป็นการแสดงเจตนาหรือมีสาเหตุมาจากนายจ้างเท่านั้น กรณีตามปัญหา เว้นแต่มีข้อตกลงหรือระเบียบของนายจ้างกำหนดไว้ การที่ลูกจ้างถึงแก่ความตาย แม้จะทำให้สัญญาจ้างแรงงานระงับลงก็ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับทายาทของลูกจ้างแต่อย่างใด
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ