ฟ้องละเมิดจากเหตุผิดสัญญาได้หรือไม่
ฟ้องละเมิดจากเหตุผิดสัญญาได้หรือไม่
162 Views
ภาษิตกฎหมายภาษาละตินที่ว่า “Pacta sunt servanda” หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “สัญญาต้องเป็นสัญญา” นั้น เป็นหลักกฎหมายทั่วไปซึ่งเปรียบเสมือนกฎเหล็กที่ใช้ในการควบคุมการทำสัญญาของคู่สัญญา การที่บุคคลตกลงเข้าทำสัญญาย่อมอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ 1.หลักเสรีภาพในการทำสัญญา (Freedom to Contract) และ 2.หลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา (Autonomy of Will) ดังนั้น เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นจากการทำนิติกรรมจึงไม่อาจนำหลักในเรื่องละเมิดซึ่งเป็นหนี้ในนิติเหตุมาใช้บังคับได้ และต้องใช้ข้อตกลงตามสัญญาในการแก้ไขเยียวยาความเสียหายเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น นายเซียงต้องการขายรถยนต์ใช้แล้วของตนเองให้ได้ราคาดี จึงทำการกรอเลขไมล์จาก 200,000 กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 100,000 กิโลเมตร พร้อมทั้งรับประกันกับนายเจิดว่าเครื่องยนต์เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่ดี นายเจิดหลงเชื่อข้อมูลจึงซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากนายเซียง ภายหลังการใช้งาน รถยนต์มีอาการผิดปกติและต้องซ่อมอยู่เป็นประจำ จึงทราบว่ารถยนต์น่าจะผ่านการใช้งานมามาก และไม่ใช่ 100,000 กิโลเมตรตามที่นายเซียงกล่าวอ้าง กรณีนี้แม้นายเซียงผู้ขายจะปกปิดข้อความจริงและหลอกลวงนายเจิดให้ซื้อรถยนต์ ค่าเสียหายในกรณีดังกล่าวนี้ก็เกิดจากการผิดสัญญา ไม่ใช่กรณีละเมิด การเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องฟ้องในมูลสัญญา
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ตัวอย่างเช่น นายเซียงต้องการขายรถยนต์ใช้แล้วของตนเองให้ได้ราคาดี จึงทำการกรอเลขไมล์จาก 200,000 กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 100,000 กิโลเมตร พร้อมทั้งรับประกันกับนายเจิดว่าเครื่องยนต์เรียบร้อยและอยู่ในสภาพที่ดี นายเจิดหลงเชื่อข้อมูลจึงซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากนายเซียง ภายหลังการใช้งาน รถยนต์มีอาการผิดปกติและต้องซ่อมอยู่เป็นประจำ จึงทราบว่ารถยนต์น่าจะผ่านการใช้งานมามาก และไม่ใช่ 100,000 กิโลเมตรตามที่นายเซียงกล่าวอ้าง กรณีนี้แม้นายเซียงผู้ขายจะปกปิดข้อความจริงและหลอกลวงนายเจิดให้ซื้อรถยนต์ ค่าเสียหายในกรณีดังกล่าวนี้ก็เกิดจากการผิดสัญญา ไม่ใช่กรณีละเมิด การเรียกร้องค่าเสียหายจึงต้องฟ้องในมูลสัญญา
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ