การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลโดยการแจ้งว่าตนเองไม่เคยเป็นโรคตับแข็งมาก่อน ต่อมาได้ถึงแก่ความตายด้วยวัณโรคปอด ซึ่งทั้งโรคตับแข็งและวัณโรคปอดต่างก็เป็นโรคที่ผู้รับประกันภัยระบุในข้อกำหนดและเงื่อนไขก่อนทำสัญญาว่าจะไม่รับทำสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยจะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่
การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลโดยการแจ้งว่าตนเองไม่เคยเป็นโรคตับแข็งมาก่อน ต่อมาได้ถึงแก่ความตายด้วยวัณโรคปอด ซึ่งทั้งโรคตับแข็งและวัณโรคปอดต่างก็เป็นโรคที่ผู้รับประกันภัยระบุในข้อกำหนดและเงื่อนไขก่อนทำสัญญาว่าจะไม่รับทำสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยจะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่
354 Views
หลักสุจริตอย่างยิ่งในสัญญาประกันชีวิต (The Principle of Good Faith in Contract of Life Insurance) ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะอาจก่อให้เกิดสิทธิในการบอกล้างนิติกรรมของผู้รับประกันภัยเพราะสัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ จึงมีคำถามว่า การที่ผู้เอาประกันภัยปกปิดข้อมูลโดยการแจ้งว่าตนเองไม่เคยเป็นโรคตับแข็งมาก่อน ต่อมาได้ถึงแก่ความตายด้วยวัณโรคปอด ซึ่งทั้งโรคตับแข็งและวัณโรคปอดต่างก็เป็นโรคที่ผู้รับประกันภัยระบุในข้อกำหนดและเงื่อนไขก่อนทำสัญญาว่าจะไม่รับทำสัญญาประกันชีวิต ผู้รับประกันภัยจะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่
ป.พ.พ.ม.865 ว.1 มีหลักว่า “ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะ” การที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่แล้วว่าตนเองเคยเป็นโรคตับแข็งมาก่อน จึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ผู้เอาประกันภัยเคยป่วยเป็นโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคร้ายแรง แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากผู้รับประกันภัยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคที่ปกปิดไม่เปิดเผยข้อความจริงให้แก่ผู้รับประกันภัยทราบหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542)
ป.พ.พ.ม.865 ว.1 มีหลักว่า “ถ้าในเวลาทำสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยก็ดี หรือในกรณีประกันชีวิต บุคคลอันการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของเขานั้นก็ดี รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีกหรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา หรือว่ารู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นความเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะ” การที่ผู้เอาประกันภัยทราบอยู่แล้วว่าตนเองเคยเป็นโรคตับแข็งมาก่อน จึงเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ การที่ผู้เอาประกันภัยเคยป่วยเป็นโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคร้ายแรง แต่มิได้แจ้งข้อความจริงดังกล่าวให้ผู้รับประกันภัยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากผู้รับประกันภัยทราบก็อาจเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อมมีสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายด้วยโรคตับแข็งซึ่งเป็นโรคที่ปกปิดไม่เปิดเผยข้อความจริงให้แก่ผู้รับประกันภัยทราบหรือไม่ หรือตายด้วยเหตุใด
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2542)