ผู้ทวงถามหนี้ และพฤติการณ์ในการทวงถามหนี้ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
ผู้ทวงถามหนี้ และพฤติการณ์ในการทวงถามหนี้ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558
248 Views
การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยหลายครั้งในเวลาที่ไล่เลี่ยและต่อเนื่องกันแล้วมีการทวงถามให้ชำระหนี้จะทำให้บุคคลดังกล่าวมีฐานะเป็นผู้ทวงถามหนี้หรือไม่ และการฝากข้อความทางโทรศัพท์และเขียนจดหมายผ่านผู้ใต้บังคับบัญชาของลูกหนี้สรุปได้ว่า “จะนำเช็คไปเข้าบัญชีแล้ว จะคืนเงินได้เมื่อใด ถ้าเกิดเช็คเด้ง มีความจำเป็นจะต้องไปแจ้งความ ขอให้ชำระเงินตามสัญญาด้วย” จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 11 หรือไม่
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า (1) บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติหรือ (2) บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด และ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถาม หนี้และผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ส่วนมาตรา 11 มีหลักว่า “ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 ว.2 (2) (4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อ ให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการ ประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด............(5).............(6)” ตามปัญหาข้างต้น การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลอันเป็นการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโดยการเรียกดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ หรือเป็นผู้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการกระทำในทางการค้าปกติของตน คงได้ความแต่เพียงว่ามีการให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินไปหลายครั้งในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยต่อเนื่องกันโดยมีการเรียกดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนแล้วมีการทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค หรือเป็นเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่ผู้ทวงถามหนี้ตามความหมายของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 สำหรับการฝากข้อความทางโทรศัพท์และเขียนจดหมายผ่านผู้ใต้บังคับบัญชาของลูกหนี้สรุปได้ว่า “จะนำเช็คไปเข้าบัญชีแล้ว จะคืนเงินได้เมื่อใด ถ้าเกิดเช็คเด้ง มีความจำเป็นจะต้องไปแจ้งความ ขอให้ชำระเงินตามสัญญาด้วย” นั้น เป็นแค่การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญา อันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของเจ้าหนี้ที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย หาใช่ถ้อยคำร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้ผู้ที่พบเห็นข้อความเข้าใจได้ว่า ลูกหนี้มีความประพฤติตนไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการชำระหนี้หรือมีปัญหาหนี้สินส่วนตัวเป็นจำนวนมากจนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ อันจะทำให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียงชังไม่ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 11
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2566)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 3 ได้ให้คำนิยามของคำว่า “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า (1) บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติหรือ (2) บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด และ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชําระหนี้อันเกิดจากการกระทําที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอํานาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถาม หนี้และผู้รับมอบอํานาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ส่วนมาตรา 11 มีหลักว่า “ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 ว.2 (2) (4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อ ให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจํานองด้วยวิธีการ ประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด............(5).............(6)” ตามปัญหาข้างต้น การให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินโดยคิดดอกเบี้ยโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลอันเป็นการให้กู้ยืมเงินแก่ลูกค้าโดยการเรียกดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ หรือเป็นผู้ให้บริการกู้ยืมเงินแก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการกระทำในทางการค้าปกติของตน คงได้ความแต่เพียงว่ามีการให้ผู้อื่นกู้ยืมเงินไปหลายครั้งในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยต่อเนื่องกันโดยมีการเรียกดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนแล้วมีการทวงถามให้ชำระหนี้เท่านั้น ยังฟังไม่ได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค หรือเป็นเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ จึงไม่ใช่ผู้ทวงถามหนี้ตามความหมายของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 สำหรับการฝากข้อความทางโทรศัพท์และเขียนจดหมายผ่านผู้ใต้บังคับบัญชาของลูกหนี้สรุปได้ว่า “จะนำเช็คไปเข้าบัญชีแล้ว จะคืนเงินได้เมื่อใด ถ้าเกิดเช็คเด้ง มีความจำเป็นจะต้องไปแจ้งความ ขอให้ชำระเงินตามสัญญาด้วย” นั้น เป็นแค่การเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญา อันเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของเจ้าหนี้ที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย หาใช่ถ้อยคำร้ายแรงถึงขนาดที่จะทำให้ผู้ที่พบเห็นข้อความเข้าใจได้ว่า ลูกหนี้มีความประพฤติตนไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการชำระหนี้หรือมีปัญหาหนี้สินส่วนตัวเป็นจำนวนมากจนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ อันจะทำให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียงชังไม่ จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ.มาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 11
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2566)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ