ทรัพย์สินของพระ ทรัพย์สินของวัด
ทรัพย์สินของพระ ทรัพย์สินของวัด
385 Views
หลายวันมานี้ มีประเด็นที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุชื่อดังที่ตัดสินใจลาสิกขาออกจากเพศบรรพชิตมาเป็นฆราวาสว่า ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างที่บวชเป็นพระภิกษุนั้นเป็นของพระภิกษุหรือเป็นของวัด กฎหมายในเรื่องนี้มีว่าอย่างไร
ป.พ.พ. มาตรา 1623 มีหลักว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” และมาตรา 1624 มีหลักว่า “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปได้ว่า ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชย่อมเป็นของพระภิกษุ หากบวชแล้วและพระภิกษุนั้นมรณภาพ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ย่อมตกเป็นของวัด เว้นแต่ พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย (ขาย,จ่าย,แจก,แลกเปลี่ยน หรือโอน) ไปในระหว่างที่มีชีวิต หรือได้มีการทำพินัยกรรมไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากพระภิกษุในพุทธศาสนานั้นอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับคนธรรมดา การที่จะพิจารณาว่าทรัพย์สินใดเป็นของพระภิกษุหรือเป็นของวัดนั้น สามารถพิจารณาได้จากเจตนาหรือความตั้งใจของผู้ให้เป็นสำคัญ เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า หรือการใส่ตู้บริจาคทรัพย์สิน ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นของวัด แต่การนิมนต์พระภิกษุไปทำพิธีสวดมนต์ให้พรที่บ้านแล้วมีการถวายปัจจัย หรือการถวายปัจจัยเวลามีการทำบุญที่วัด หรือแม้แต่การถวายรถยนต์ หรือพระภิกษุได้ทรัพย์สินหรือที่ดินมาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศโดยระบุว่าให้พระภิกษุ ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นย่อมเป็นของพระภิกษุ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หลักกฎหมายในเรื่องนี้ ไม่รวมถึงพระจีน,แม่ชี,สามเณร และพระอื่นๆ ด้วยนะครับ
ป.พ.พ. มาตรา 1623 มีหลักว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม” และมาตรา 1624 มีหลักว่า “ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้” จากหลักกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงสรุปได้ว่า ทรัพย์สินที่ได้มาก่อนบวชย่อมเป็นของพระภิกษุ หากบวชแล้วและพระภิกษุนั้นมรณภาพ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ ย่อมตกเป็นของวัด เว้นแต่ พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย (ขาย,จ่าย,แจก,แลกเปลี่ยน หรือโอน) ไปในระหว่างที่มีชีวิต หรือได้มีการทำพินัยกรรมไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากพระภิกษุในพุทธศาสนานั้นอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เช่นเดียวกับคนธรรมดา การที่จะพิจารณาว่าทรัพย์สินใดเป็นของพระภิกษุหรือเป็นของวัดนั้น สามารถพิจารณาได้จากเจตนาหรือความตั้งใจของผู้ให้เป็นสำคัญ เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า หรือการใส่ตู้บริจาคทรัพย์สิน ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นของวัด แต่การนิมนต์พระภิกษุไปทำพิธีสวดมนต์ให้พรที่บ้านแล้วมีการถวายปัจจัย หรือการถวายปัจจัยเวลามีการทำบุญที่วัด หรือแม้แต่การถวายรถยนต์ หรือพระภิกษุได้ทรัพย์สินหรือที่ดินมาในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศโดยระบุว่าให้พระภิกษุ ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นย่อมเป็นของพระภิกษุ เป็นต้น อย่างไรก็ดี หลักกฎหมายในเรื่องนี้ ไม่รวมถึงพระจีน,แม่ชี,สามเณร และพระอื่นๆ ด้วยนะครับ