การที่ผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ละเมิดชำระค่าเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะถือว่าผู้ว่าการรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วหรือไม่
การที่ผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ละเมิดชำระค่าเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะถือว่าผู้ว่าการรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วหรือไม่
425 Views
เป็นที่ทราบกันดีว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 แบ่งหน่วยงานภายในเป็นฝ่าย กอง และแผนกต่างๆ โดยมีผู้ว่าการเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน สำหรับในส่วนของกฎหมายนั้นมีผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายทำหน้าที่บริหารจัดการเพื่อให้งานต่างๆ สำเร็จลุล่วงและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จึงมีคำถามว่า การที่ผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ผู้ละเมิดชำระค่าเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะถือว่าผู้ว่าการรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วหรือไม่
คำสั่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกฎหมายนั้น เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในเท่านั้น การที่ผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ละเมิดให้ชำระค่าเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติ แต่ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นนิติบุคคลตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทน อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล ในกรณีนี้ อายุความจึงต้องนับแต่วันที่ผู้ว่าการทราบเรื่อง กล่าวคือ รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือผู้ต้องรับผิด ตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดี ซึ่งหากยังไม่พ้นกำหนดตามป.พ.พ.มาตรา 448 ว.1 คดีย่อมไม่ขาดอายุความ
หลักเกณฑ์: ป.พ.พ. มาตรา 448 ว.1 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ขาดอายุความเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันที่ทำละเมิด”
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำสั่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของกองอำนวยการและกฎหมายนั้น เป็นเพียงการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของหน่วยงานภายในเท่านั้น การที่ผู้อำนวยการกองอำนวยการและกฎหมายมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังผู้ละเมิดให้ชำระค่าเสียหายแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบที่วางไว้ตามปกติ แต่ไม่ใช่เป็นการกระทำแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นนิติบุคคลตามที่ได้รับมอบหมายในลักษณะของตัวการตัวแทน อันจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล ในกรณีนี้ อายุความจึงต้องนับแต่วันที่ผู้ว่าการทราบเรื่อง กล่าวคือ รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือผู้ต้องรับผิด ตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาตามลำดับชั้นและลงนามอนุมัติให้ดำเนินคดี ซึ่งหากยังไม่พ้นกำหนดตามป.พ.พ.มาตรา 448 ว.1 คดีย่อมไม่ขาดอายุความ
หลักเกณฑ์: ป.พ.พ. มาตรา 448 ว.1 มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ขาดอายุความเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันที่ทำละเมิด”
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2550)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ