การชำระหนี้กับเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์
การชำระหนี้กับเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์
282 Views
นายธนาธรขายอ้อยพันธุ์ที่ปลูกในที่ดินเนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่นายภูมิธรรม ตกลงราคาซื้อขายที่ 100,000 บาท โดยนายภูมิธรรมจ่ายเงินให้แก่นายธนาธรในวันดังกล่าวแล้วจำนวน 50,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายหลังจากตัดอ้อยพันธุ์แล้ว ต่อมา นายสรยุทธ์ซึ่งเป็นวัยรุ่นในหมู่บ้านได้สูบบุหรี่และทิ้งก้นบุหรี่ที่ยังไม่ได้ดับด้วยความประมาท เป็นเหตุให้อ้อยพันธุ์ทั้งหมดของนายธนาธรถูกไฟไหม้ มีคำถามว่า นายธนาธรจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ และขอให้บังคับนายสรยุทธ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนเองได้หรือไม่
นายธนาธรขายอ้อยพันธุ์ที่ปลูกในที่ดินเนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่นายภูมิธรรม โดยนายภูมิธรรมจ่ายเงินให้แก่นายธนาธรแล้วจำนวน 50,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายหลังจากตัดอ้อยพันธุ์แล้ว แต่เมื่อไฟไหม้อ้อยพันธุ์หมดจึงไม่สามารถตัดขายได้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในอ้อยพันธุ์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมโอนไปยังนายภูมิธรรมแล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 458 ขณะเกิดเหตุอ้อยพันธุ์เป็นทรัพย์ของนายภูมิธรรม นายธนาธรจึงไม่ใช่บุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 30 และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับนายสรยุทธ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนเองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2564 และ 2655/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
นายธนาธรขายอ้อยพันธุ์ที่ปลูกในที่ดินเนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่นายภูมิธรรม โดยนายภูมิธรรมจ่ายเงินให้แก่นายธนาธรแล้วจำนวน 50,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายหลังจากตัดอ้อยพันธุ์แล้ว แต่เมื่อไฟไหม้อ้อยพันธุ์หมดจึงไม่สามารถตัดขายได้ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในอ้อยพันธุ์ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ย่อมโอนไปยังนายภูมิธรรมแล้วตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 458 ขณะเกิดเหตุอ้อยพันธุ์เป็นทรัพย์ของนายภูมิธรรม นายธนาธรจึงไม่ใช่บุคคลผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4) จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 30 และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับนายสรยุทธ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนเองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 44/1 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1442/2564 และ 2655/2564)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ