การขายชุดชั้นในมือสองออนไลน์ จะถือเป็นการเผยแพร่สิ่งลามกหรือไม่
การขายชุดชั้นในมือสองออนไลน์ จะถือเป็นการเผยแพร่สิ่งลามกหรือไม่
339 Views
การขายเสื้อผ้ามือสองเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมาก และสามารถเริ่มต้นได้จากการขายเสื้อผ้าของตนเอง จึงมีหลายคนที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจประเภทนี้ จนสามารถเปลี่ยนจากอาชีพเสริมเป็นรายได้หลักแทนงานประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี แหล่งที่มาของเสื้อผ้ามือสอง ความแท้จริงของสินค้า เจตนาของผู้ขาย และช่องทางออนไลน์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจทำให้ผู้ขายมีความผิดตามกฎหมายได้ จึงมีคำถามว่า การขายชุดชั้นในมือสองออนไลน์นั้น จะถือเป็นการเผยแพร่สิ่งลามกหรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ลามก” ไว้ว่า หมายถึง หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจของคนดีมีศีลธรรม เช่น หนังสือลามก พูดลามก และทำลามก เป็นต้น ดังนั้น หากการขายชุดชั้นในมือสองนั้นมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝงนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือเสื้อผ้ามือสองตามปกติ เช่น การยั่วยุให้เกิดกามารมณ์เพื่อเป็นการสนองความใคร่ของผู้ซื้อ (ยกตัวอย่าง มีการโฆษณาว่าจะมีการใส่ซ้ำทั้งวันก่อนส่ง เพื่อให้มีกลิ่นหรือคราบติดไปกับชุดชั้นในดังกล่าว หรือไม่ซัก) ย่อมถือเป็นการกระทำเพื่อความประสงค์แห่งการค้า โดยทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งสิ่งอื่นใดอันลามก อันเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 287 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออก หรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไป หรือยังให้พาไป หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก หรือ (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วน หรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจก หรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุ หรือสิ่งของเช่นว่านั้น หรือ (3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณา หรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และหากมีการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ ย่อมเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย ดังนั้น การขายชุดชั้นในมือสองออนไลน์ จะผิดกฎหมายหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ขายและผู้ซื้อว่าแท้จริงแล้วเป็นการซื้อขายสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ใด
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายของคำว่า “ลามก” ไว้ว่า หมายถึง หยาบช้าต่ำทราม, หยาบโลน, อันเป็นที่น่ารังเกียจของคนดีมีศีลธรรม เช่น หนังสือลามก พูดลามก และทำลามก เป็นต้น ดังนั้น หากการขายชุดชั้นในมือสองนั้นมีวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝงนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือเสื้อผ้ามือสองตามปกติ เช่น การยั่วยุให้เกิดกามารมณ์เพื่อเป็นการสนองความใคร่ของผู้ซื้อ (ยกตัวอย่าง มีการโฆษณาว่าจะมีการใส่ซ้ำทั้งวันก่อนส่ง เพื่อให้มีกลิ่นหรือคราบติดไปกับชุดชั้นในดังกล่าว หรือไม่ซัก) ย่อมถือเป็นการกระทำเพื่อความประสงค์แห่งการค้า โดยทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งสิ่งอื่นใดอันลามก อันเป็นความผิดตาม ปอ.มาตรา 287 ซึ่งมีหลักว่า “ผู้ใด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่าย หรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออก หรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไป หรือยังให้พาไป หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก หรือ (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วน หรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว จ่ายแจก หรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือให้เช่าวัตถุ หรือสิ่งของเช่นว่านั้น หรือ (3) เพื่อจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าวัตถุหรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้ว โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ ว่ามีบุคคลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือโฆษณา หรือไขข่าวว่าวัตถุ หรือสิ่งของลามกดังกล่าวแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และหากมีการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ ย่อมเป็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย ดังนั้น การขายชุดชั้นในมือสองออนไลน์ จะผิดกฎหมายหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ขายและผู้ซื้อว่าแท้จริงแล้วเป็นการซื้อขายสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ใด