ซื้อของออนไลน์แต่ไม่ได้ของ ทำยังไงดี
ซื้อของออนไลน์แต่ไม่ได้ของ ทำยังไงดี
434 Views
ปัจจุบันการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์นั้นเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและสินค้าที่ซื้อนั้นมักมีราคาถูกกว่าการซื้อสินค้าตามปกติ แต่มีข้อเสียคือ ผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นสินค้าจริงๆ ก่อน และเมื่อชำระเงินแล้วมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าไม่ตรงกับความต้องการที่สั่งซื้อ หรือได้รับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบจำนวน กรณีดังกล่าว หากมองเป็นเรื่องผิดสัญญาซื้อขายก็ย่อมเป็นเพียงการผิดสัญญาทางแพ่ง แต่จะมีกรณีไหนบ้างหละที่จะถือเป็นเรื่องของความรับผิดทางอาญา
“การจะพิจารณาว่าเป็นเรื่องของการผิดสัญญาทางแพ่งหรือต้องรับผิดทางอาญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาขณะทำสัญญาว่ามีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงไว้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหรือไม่” หากไม่มีเจตนาจะปฏิบัติตามสัญญาเลยตั้งแต่แรก เพียงแต่ทำสัญญาเพื่อหวังผลประโยชน์จากคู่กรณี เช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดทางอาญาฐาน “ลวงขาย” หรือ “ฉ้อโกง”แล้วแต่กรณี ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
ความผิดฐาน “ลวงขาย” (Passing Off) คือการที่ผู้ขายหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ กรณีดังกล่าว “ผู้ซื้อมักจะได้รับสินค้าแล้ว” แต่ไม่ตรงกับความต้องการที่สั่งซื้อ หรือได้รับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบจำนวน ตามที่ผู้ขายได้โฆษณา เช่น ผู้ขายอ้างว่ากระเป๋าแบรนด์เนมใบนี้ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส แต่จริงๆ แล้วผลิตที่ประเทศจีน หรือมีการอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นสินค้าใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน แต่จริงๆ แล้วเป็นสินค้ามือสอง เป็นต้น
ส่วนความผิดฐาน “ฉ้อโกง” (Fraud) นั้น คือการที่ผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ทำให้ผู้ขายได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ซื้อ กรณีดังกล่าว “ผู้ซื้อมักจะไม่ได้รับสินค้า” ตามที่สั่งซื้อ เช่น ผู้ซื้อโอนเงินค่าชำระสินค้าไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แม้บางกรณี ผู้ซื้ออาจจะได้รับสินค้าก็ตาม แต่สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับความต้องการ หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ขายไม่มีเจตนาจะขายสินค้าตามที่โฆษณาให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่แรก หรือผู้ขายไม่มีสินค้านั้นอยู่จริง และการเสนอขายสินค้าเป็นเพียงขั้นตอนการหลอกลวงของผู้ขาย “กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการฉ้อโกงได้เช่นกัน”
ความแตกต่างประการสำคัญของความผิดทั้ง 2 ฐาน คือ “ฉ้อโกง” นั้นเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ แต่ “ลวงขาย” เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ อย่างไรก็ดี การจะเป็นความผิดฐานใดยังไม่สำคัญเท่ากับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา ควรทำอย่างไร แอดมินมีคำแนะนำ 5 ข้อนี้ครับ
1. ให้เราเก็บหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ในการซื้อสินค้า เช่น ข้อมูลเว็บไซต์ เพจ หรือไลน์ที่ใช้ในการติดต่อ ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ขาย ข้อมูลสินค้าและการโฆษณา หลักฐานการพูดคุย หลักฐานการโอนเงินไปยังผู้ขาย โดยให้เก็บรูปไว้ในเครื่องโทรศัพท์ Thumb drive หรือ CD เป็นต้น และถ้าเราสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ให้พริ้นท์ข้อมูลเว็บไซต์ เพจ หรือไลน์ที่ใช้ในการติดต่อที่ติดลิงค์เว็บไซต์ และข้อมูลอื่นๆ (จะปรากฏที่บริเวณหัวหรือท้ายกระดาษ) ใส่กระดาษออกมาด้วย
2. หากเป็นการซื้อสินค้าในตลาดออนไลน์ ให้รีบติดต่อและส่งมอบพยานหลักฐานให้แก่ผู้ดูแลเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อร้องเรียนให้สอบสวนผู้ขาย และระงับบัญชีการซื้อขายไว้ก่อน นอกจากจะระงับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเราแล้ว ยังช่วยป้องกันหรือระงับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ซื้อสินค้ารายอื่นด้วย
3. เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจ (ได้ทุกท้องที่ #ติดตามข้อมูลได้จากเพจครั้งก่อน รายละเอียดลงไว้ให้แล้วนะครับ) โดยให้เล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและส่งมอบพยานหลักฐานที่เตรียมไว้ตามข้อ 1 ให้กับตำรวจ ข้อควรระวังประการสำคัญคือ ในการให้ปากคำ และบันทึกประจำวันไม่ควรระบุว่า “แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน” เท่านั้นแต่ต้องระบุว่า “ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดจนถึงที่สุด” นะครับ
4. ขอทราบชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อตำรวจ เพื่อการสอบถามความคืบหน้าของคดี
5. ทำใจให้สบายและให้ความร่วมกับตำรวจเพื่อการติดตามตัวผู้ขายเพื่อมาดำเนินคดีต่อไป
หากกระทำได้ 5 ข้อเช่นนี้ แอดมินก็เชื่อว่าท่านก็จะได้รับเงินคืนนะครับ
“การจะพิจารณาว่าเป็นเรื่องของการผิดสัญญาทางแพ่งหรือต้องรับผิดทางอาญานั้น จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาขณะทำสัญญาว่ามีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงไว้กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหรือไม่” หากไม่มีเจตนาจะปฏิบัติตามสัญญาเลยตั้งแต่แรก เพียงแต่ทำสัญญาเพื่อหวังผลประโยชน์จากคู่กรณี เช่นนี้ ย่อมเป็นความผิดทางอาญาฐาน “ลวงขาย” หรือ “ฉ้อโกง”แล้วแต่กรณี ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
ความผิดฐาน “ลวงขาย” (Passing Off) คือการที่ผู้ขายหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ กรณีดังกล่าว “ผู้ซื้อมักจะได้รับสินค้าแล้ว” แต่ไม่ตรงกับความต้องการที่สั่งซื้อ หรือได้รับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ครบจำนวน ตามที่ผู้ขายได้โฆษณา เช่น ผู้ขายอ้างว่ากระเป๋าแบรนด์เนมใบนี้ผลิตที่ประเทศฝรั่งเศส แต่จริงๆ แล้วผลิตที่ประเทศจีน หรือมีการอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นสินค้าใหม่ ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน แต่จริงๆ แล้วเป็นสินค้ามือสอง เป็นต้น
ส่วนความผิดฐาน “ฉ้อโกง” (Fraud) นั้น คือการที่ผู้ขายหลอกลวงผู้ซื้อด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ทำให้ผู้ขายได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ซื้อ กรณีดังกล่าว “ผู้ซื้อมักจะไม่ได้รับสินค้า” ตามที่สั่งซื้อ เช่น ผู้ซื้อโอนเงินค่าชำระสินค้าไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่งซื้อ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี แม้บางกรณี ผู้ซื้ออาจจะได้รับสินค้าก็ตาม แต่สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับความต้องการ หากพิสูจน์ได้ว่าผู้ขายไม่มีเจตนาจะขายสินค้าตามที่โฆษณาให้แก่ผู้ซื้อตั้งแต่แรก หรือผู้ขายไม่มีสินค้านั้นอยู่จริง และการเสนอขายสินค้าเป็นเพียงขั้นตอนการหลอกลวงของผู้ขาย “กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการฉ้อโกงได้เช่นกัน”
ความแตกต่างประการสำคัญของความผิดทั้ง 2 ฐาน คือ “ฉ้อโกง” นั้นเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ แต่ “ลวงขาย” เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ อย่างไรก็ดี การจะเป็นความผิดฐานใดยังไม่สำคัญเท่ากับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเรา ควรทำอย่างไร แอดมินมีคำแนะนำ 5 ข้อนี้ครับ
1. ให้เราเก็บหลักฐานต่างๆ ที่ใช้ในการซื้อสินค้า เช่น ข้อมูลเว็บไซต์ เพจ หรือไลน์ที่ใช้ในการติดต่อ ชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ขาย ข้อมูลสินค้าและการโฆษณา หลักฐานการพูดคุย หลักฐานการโอนเงินไปยังผู้ขาย โดยให้เก็บรูปไว้ในเครื่องโทรศัพท์ Thumb drive หรือ CD เป็นต้น และถ้าเราสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ให้พริ้นท์ข้อมูลเว็บไซต์ เพจ หรือไลน์ที่ใช้ในการติดต่อที่ติดลิงค์เว็บไซต์ และข้อมูลอื่นๆ (จะปรากฏที่บริเวณหัวหรือท้ายกระดาษ) ใส่กระดาษออกมาด้วย
2. หากเป็นการซื้อสินค้าในตลาดออนไลน์ ให้รีบติดต่อและส่งมอบพยานหลักฐานให้แก่ผู้ดูแลเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อร้องเรียนให้สอบสวนผู้ขาย และระงับบัญชีการซื้อขายไว้ก่อน นอกจากจะระงับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเราแล้ว ยังช่วยป้องกันหรือระงับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ซื้อสินค้ารายอื่นด้วย
3. เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจ (ได้ทุกท้องที่ #ติดตามข้อมูลได้จากเพจครั้งก่อน รายละเอียดลงไว้ให้แล้วนะครับ) โดยให้เล่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและส่งมอบพยานหลักฐานที่เตรียมไว้ตามข้อ 1 ให้กับตำรวจ ข้อควรระวังประการสำคัญคือ ในการให้ปากคำ และบันทึกประจำวันไม่ควรระบุว่า “แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน” เท่านั้นแต่ต้องระบุว่า “ประสงค์จะดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำความผิดจนถึงที่สุด” นะครับ
4. ขอทราบชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อตำรวจ เพื่อการสอบถามความคืบหน้าของคดี
5. ทำใจให้สบายและให้ความร่วมกับตำรวจเพื่อการติดตามตัวผู้ขายเพื่อมาดำเนินคดีต่อไป
หากกระทำได้ 5 ข้อเช่นนี้ แอดมินก็เชื่อว่าท่านก็จะได้รับเงินคืนนะครับ