สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้มีอายุความ 5 ปี หรือ 10 ปี
สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินกู้มีอายุความ 5 ปี หรือ 10 ปี
283 Views
โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 100 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 เมษายน 2558 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยอมให้โจทก์เรียกหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้ โดยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 มีปัญหาว่า สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีอายุความ 5 ปี หรือ 10
ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มีหลักว่า “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนด 10 ปี” ส่วนมาตรา 193/33(2) มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี จากหลักกฎหมายดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่เข้าใจกันว่าเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มีกำหนด 10 ปีนั้น หมายถึง สัญญากู้ยืมเงินที่มิได้กำหนดวิธีผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนเป็นงวด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 100 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 เมษายน 2558 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยอมให้โจทก์เรียกหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้ โดยจำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงมีลักษณะเป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยวันที่ 19 สิงหาคม 2565 คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6854/2553 และ 2660/2545)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
ป.พ.พ.มาตรา 193/30 มีหลักว่า “อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนด 10 ปี” ส่วนมาตรา 193/33(2) มีหลักว่า “สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี จากหลักกฎหมายดังกล่าว หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่เข้าใจกันว่าเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มีกำหนด 10 ปีนั้น หมายถึง สัญญากู้ยืมเงินที่มิได้กำหนดวิธีผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนเป็นงวด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์โดยตกลงผ่อนชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยรายเดือนรวม 100 งวด เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 22 เมษายน 2558 และชำระงวดถัดไปทุกวันที่ 22 ของทุกเดือน หากผิดนัดไม่ชำระหนี้งวดใด ยอมให้โจทก์เรียกหนี้ตามสัญญาทั้งหมดคืนได้ทันที ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้ โดยจำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้ายวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงมีลักษณะเป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ซึ่งมีข้อตกลงชำระหนี้ผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้ คือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เนื่องจากนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องของตนได้ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยวันที่ 19 สิงหาคม 2565 คดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6854/2553 และ 2660/2545)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ