“แม่บ้าน” หรือ ”คนรับใช้” กับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
“แม่บ้าน” หรือ ”คนรับใช้” กับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
330 Views
“แม่บ้าน” หรือ ”คนรับใช้” ซึ่งทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้าง เป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 หรือไม่
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 ได้ให้จำกัดความของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ไว้ หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กรณีของแม่บ้านหรือคนรับใช้ซึ่งทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้างนั้น มีลักษณะเป็นการใช้แรงงานโดยมุ่งประสงค์ถึงค่าตอบแทน จึงถือเป็นลูกจ้าง และมีความผูกพันกับนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่มิใช่บุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
# กรณี "ทหารรับใช้ในบ้านนาย" มีความผูกพันในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 เช่นกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3 ได้ให้จำกัดความของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ไว้ หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน กรณีของแม่บ้านหรือคนรับใช้ซึ่งทำงานอยู่ในบ้านของนายจ้างนั้น มีลักษณะเป็นการใช้แรงงานโดยมุ่งประสงค์ถึงค่าตอบแทน จึงถือเป็นลูกจ้าง และมีความผูกพันกับนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่มิใช่บุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
# กรณี "ทหารรับใช้ในบ้านนาย" มีความผูกพันในลักษณะผลประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 เช่นกัน
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ