การที่ผู้เสียหายหลบหนีและไม่ยอมมาศาลเพื่อเบิกความเป็นพยาน ศาลจะรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเพื่อลงโทษจำเลยได้หรือไม่
การที่ผู้เสียหายหลบหนีและไม่ยอมมาศาลเพื่อเบิกความเป็นพยาน ศาลจะรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเพื่อลงโทษจำเลยได้หรือไม่
219 Views
การที่ผู้เสียหายมาศาลและเบิกความเป็นพยานประมาณ 10 นาที แต่แถลงว่าจดจำข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่ผ่านมาไม่ได้จึงขอเลื่อนไปสืบพยานในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดกลับไม่ยอมมาเบิกความ ศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมา มีคำถามว่า ศาลจะรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนเพื่อลงโทษจำเลยได้หรือไม่
แม้ในชั้นพิจารณาจะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยาน คงมีบันทึกคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายมาศาลและเบิกความเป็นพยานประมาณ 10 นาที แต่แถลงว่าจดจำข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่ผ่านมาไม่ได้จึงขอเลื่อนไปสืบพยานในนัดหน้า ศาลอนุญาต ครั้นถึงวันนัดผู้เสียหายไม่มาศาล ศาลจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมา พฤติการณ์ในการหลบหนีและไม่มาเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2561)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
แม้ในชั้นพิจารณาจะไม่ได้ตัวผู้เสียหายมาเบิกความเป็นพยาน คงมีบันทึกคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า ผู้เสียหายมาศาลและเบิกความเป็นพยานประมาณ 10 นาที แต่แถลงว่าจดจำข้อเท็จจริงและเรื่องราวที่ผ่านมาไม่ได้จึงขอเลื่อนไปสืบพยานในนัดหน้า ศาลอนุญาต ครั้นถึงวันนัดผู้เสียหายไม่มาศาล ศาลจึงออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมา พฤติการณ์ในการหลบหนีและไม่มาเบิกความในชั้นพิจารณาของผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังคำให้การของผู้เสียหายในชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่าเพื่อลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ว.1
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 80/2561)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ