นายจ้างมีสิทธิจัดสวัสดิการของลูกจ้างใหม่แตกต่างกับลูกจ้างเดิมหรือไม่
นายจ้างมีสิทธิจัดสวัสดิการของลูกจ้างใหม่แตกต่างกับลูกจ้างเดิมหรือไม่
276 Views
นายจ้างสามารถจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ในลักษณะประกันสุขภาพแบบกลุ่มแตกต่างกับลูกจ้างเดิมที่ได้สิทธิค่ารักษาพยาบาลคนละไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีได้หรือไม่
คำว่า “สภาพการจ้าง” ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปต้องจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือ โดยในกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แม้มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จะห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตาม แต่ก็หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อระเบียบวิธีปฏิบัติด้านสวัสดิการพนักงานว่าด้วยค่ารักษาพยาบาลซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างจึงสามารถจัดสวัสดิการให้ลูกจ้างที่รับเข้าทำงานใหม่ต่างจากสวัสดิการที่จัดให้ลูกจ้างเดิมซึ่งทำงานอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือไม่ก็ตาม ตามปัญหา นายจ้างจึงสามารถจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ในลักษณะประกันสุขภาพแบบกลุ่มแตกต่างกับลูกจ้างเดิมที่ได้สิทธิค่ารักษาพยาบาลคนละไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
คำว่า “สภาพการจ้าง” ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไปต้องจัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นหนังสือ โดยในกรณีเป็นที่สงสัยว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือไม่ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แม้มาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 จะห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตาม แต่ก็หมายถึงเฉพาะข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น นายจ้างจึงสามารถทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างใหม่ให้ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้องได้ เมื่อระเบียบวิธีปฏิบัติด้านสวัสดิการพนักงานว่าด้วยค่ารักษาพยาบาลซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มิได้เกิดจากการยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างจึงสามารถจัดสวัสดิการให้ลูกจ้างที่รับเข้าทำงานใหม่ต่างจากสวัสดิการที่จัดให้ลูกจ้างเดิมซึ่งทำงานอยู่ ณ ปัจจุบันได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือไม่ก็ตาม ตามปัญหา นายจ้างจึงสามารถจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลให้แก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ในลักษณะประกันสุขภาพแบบกลุ่มแตกต่างกับลูกจ้างเดิมที่ได้สิทธิค่ารักษาพยาบาลคนละไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีได้
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ