ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุ “ชื่อผู้บริจาคและครอบครัว” เป็นผู้บริจาค ผู้บริจาคจะสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่เพียงใด
ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุ “ชื่อผู้บริจาคและครอบครัว” เป็นผู้บริจาค ผู้บริจาคจะสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่เพียงใด
322 Views
เป็นที่ทราบกันดีว่าการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นมีที่มาจากรายจ่าย 4 ประเภท ได้แก่ 1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและครอบครัว 2. ค่าใช้จ่ายในการซื้อกองทุน ประกัน และการลงทุน 3. ค่าใช้จ่ายในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ และ 4. ค่าใช้จ่ายประเภทเงินบริจาค หากกล่าวโดยเฉพาะ เงินบริจาคทั่วไป เช่น วัด และหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถนำไปลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เหลือจากการหักรายจ่ายแล้ว จึงมีคำถามว่า ใบอนุโมทนาบัตรที่ระบุ “ชื่อผู้บริจาคและครอบครัว” เป็นผู้บริจาค ผู้บริจาคจะสามารถนำไปหักเป็นค่าลดหย่อนเงินบริจาคได้หรือไม่เพียงใด
มาตรา 47 แห่ง ป. รัษฎากร มีหลักว่า “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้... (7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่าจำนวนที่บริจาคแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น (ก) เงินที่บริจาคแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ (ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กล่าวใน (ก) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา” จากหลักกฎหมายข้างต้น ป.รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่ผู้บริจาคนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อ “ผู้บริจาคและครอบครัว” เป็นผู้บริจาค ผู้บริจาคจึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อผู้บริจาคและครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของผู้บริจาคทุกคนจะได้ร่วมกันทำบุญกุศล และเมื่อผู้บริจาคเป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตนเองได้
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
มาตรา 47 แห่ง ป. รัษฎากร มีหลักว่า “เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้หักลดหย่อนได้อีกดังต่อไปนี้... (7) เมื่อได้หักลดหย่อนตาม (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับเงินบริจาคดังต่อไปนี้ โดยให้หักได้เท่าจำนวนที่บริจาคแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินที่เหลือนั้น (ก) เงินที่บริจาคแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาของทางราชการ (ข) เงินที่บริจาคเป็นสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือแก่สถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กล่าวใน (ก) ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา” จากหลักกฎหมายข้างต้น ป.รัษฎากร ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินนำเงินที่ตนบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ โดยหักได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่หักรายจ่ายแล้ว เมื่อใบอนุโมทนาบัตรที่ผู้บริจาคนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนระบุชื่อ “ผู้บริจาคและครอบครัว” เป็นผู้บริจาค ผู้บริจาคจึงมีสิทธินำมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ การที่ใบอนุโมทนาบัตรระบุชื่อผู้บริจาคและครอบครัวเป็นผู้บริจาคก็เพื่อเหตุผลทางด้านจิตใจและความเชื่อทางศาสนาว่า บุคคลในครอบครัวของผู้บริจาคทุกคนจะได้ร่วมกันทำบุญกุศล และเมื่อผู้บริจาคเป็นผู้มีชื่อระบุในใบอนุโมทนาบัตรเพียงคนเดียวโดยไม่มีชื่อบุคคลอื่นร่วมด้วย จึงมีสิทธินำเงินบริจาคทั้งจำนวนตามที่ปรากฏในใบอนุโมทนาบัตรมาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตนเองได้
(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7700/2548)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ