ละเมิดอำนาจศาลกับการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
ละเมิดอำนาจศาลกับการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
114 Views

ปัจจุบันสื่อสารมวลชนมีบทบาทเป็นอย่างมากในการช่วยนำเสนอข่าวสารความจริงให้ปรากฏ หลายคดีที่อยู่ในระหว่างสนใจของประชาชนจึงมักจะถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นในโลกออนไลน์อยู่เสมอ มีคำถามว่า การที่ยูทูปเบอร์ และผู้ประกาศข่าว ร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์และจำลองเหตุการณ์ในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง โดยเชื่อว่ามีพยานหลักฐานใหม่ และพยานหลักฐานสำคัญบางส่วนซึ่งอยู่ในสำนวนเดิมแต่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นพิจารณา ซึ่งน่าจะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายได้ ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาลหรือไม่ แอดมินมีความเห็นดังนี้ครับ
บทบัญญัติว่าด้วยการละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นวิธีการทางสบัญญัติให้ศาลมีอำนาจเฉพาะในการลงโทษเพื่อคุ้มครองการทำหน้าที่ของศาลในระหว่างการพิจารณา นอกจากคู่ความหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาแล้ว กฎหมายยังได้ควบคุมไปถึงสื่อสารมวลชนมิให้แสดงข้อความหรือความคิดเห็นโดยประสงค์ให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน ศาล คู่ความ หรือพยาน ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เนื่องจากศาลไม่มีอำนาจหน้าที่ในการหาพยานหลักฐานนอกจากที่คู่ความนำมายื่น และบุคคลภายนอกก็ไม่มีหน้าที่นำเสนอพยานหลักฐานนอกสำนวน การที่ยูทูปเบอร์ และผู้ประกาศข่าวร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์และจำลองเหตุการณ์ในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง โดยเชื่อว่ามีพยานหลักฐานใหม่ และพยานหลักฐานสำคัญบางส่วนซึ่งอยู่ในสำนวนเดิมแต่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นพิจารณา ซึ่งน่าจะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายได้นั้น หากการกระทำดังกล่าวมีเจตนาบริสุทธิ์และกระทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของศาล โดยมิได้ขัดขวางการบริหารงานยุติธรรม หรือทำให้การทำหน้าที่ของศาลเกิดความยุ่งยาก ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ หรือประวิงคดี ก่อความรำคาญ หรือขัดขวางกระบวนพิจารณาของศาล หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ปรากฎในบริเวณศาล หรือมีเจตนากลั่นแกล้งบุคคลอื่นแล้ว การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งยูทูปเบอร์และผู้ประกาศข่าว ไม่ใช่ผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2476 ถือเป็นสื่อสารมวลชนประเภทอื่น จึงไม่มีความผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 32
# ป.วิ.พ.มาตรา 32 มีหลักว่า “ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้ .......... (2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์ให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2476 มาใช้บังคับ”
# ยูทูปเบอร์ (Youtuber) คือ บุคคลซึ่งสร้างสรรค์เนื้อหาวิดีโอ หรือคอนเทนต์ และเผยแพร่บนแพลตฟอร์มยูทูป (YouTube)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
บทบัญญัติว่าด้วยการละเมิดอำนาจศาลนั้นเป็นมาตรการทางกฎหมายในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งเป็นวิธีการทางสบัญญัติให้ศาลมีอำนาจเฉพาะในการลงโทษเพื่อคุ้มครองการทำหน้าที่ของศาลในระหว่างการพิจารณา นอกจากคู่ความหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาแล้ว กฎหมายยังได้ควบคุมไปถึงสื่อสารมวลชนมิให้แสดงข้อความหรือความคิดเห็นโดยประสงค์ให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน ศาล คู่ความ หรือพยาน ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เนื่องจากศาลไม่มีอำนาจหน้าที่ในการหาพยานหลักฐานนอกจากที่คู่ความนำมายื่น และบุคคลภายนอกก็ไม่มีหน้าที่นำเสนอพยานหลักฐานนอกสำนวน การที่ยูทูปเบอร์ และผู้ประกาศข่าวร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์และจำลองเหตุการณ์ในคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลเพื่อสืบหาข้อเท็จจริง โดยเชื่อว่ามีพยานหลักฐานใหม่ และพยานหลักฐานสำคัญบางส่วนซึ่งอยู่ในสำนวนเดิมแต่ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นพิจารณา ซึ่งน่าจะให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหายได้นั้น หากการกระทำดังกล่าวมีเจตนาบริสุทธิ์และกระทำโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของศาล โดยมิได้ขัดขวางการบริหารงานยุติธรรม หรือทำให้การทำหน้าที่ของศาลเกิดความยุ่งยาก ไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ หรือประวิงคดี ก่อความรำคาญ หรือขัดขวางกระบวนพิจารณาของศาล หรือบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ปรากฎในบริเวณศาล หรือมีเจตนากลั่นแกล้งบุคคลอื่นแล้ว การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาล อีกทั้งยูทูปเบอร์และผู้ประกาศข่าว ไม่ใช่ผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณา ซึ่งตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2476 ถือเป็นสื่อสารมวลชนประเภทอื่น จึงไม่มีความผิดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 32
# ป.วิ.พ.มาตรา 32 มีหลักว่า “ผู้ใดเป็นผู้ประพันธ์ บรรณาธิการ หรือผู้พิมพ์โฆษณาซึ่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อันออกโฆษณาต่อประชาชน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รู้ถึงซึ่งข้อความหรือการออกโฆษณาแห่งหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์เช่นว่านั้นหรือไม่ ให้ถือว่าได้กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่างดังจะกล่าวต่อไปนี้ .......... (2) ถ้าหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ ได้กล่าวหรือแสดงไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในระหว่างการพิจารณาแห่งคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งข้อความหรือความเห็นโดยประสงค์ให้มีอิทธิพลเหนือความรู้สึกของประชาชน หรือเหนือศาลหรือเหนือคู่ความหรือเหนือพยานแห่งคดีซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไป เช่น ก. เป็นการแสดงผิดจากข้อเท็จจริงแห่งคดี หรือ ข. เป็นรายงานหรือย่อเรื่องหรือวิภาค ซึ่งกระบวนพิจารณาแห่งคดีอย่างไม่เป็นกลางและไม่ถูกต้อง หรือ ค. เป็นการวิภาคโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งการดำเนินคดีของคู่ความ หรือคำพยานหลักฐาน หรือนิสัยความประพฤติของคู่ความหรือพยาน รวมทั้งการแถลงข้อความอันเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของคู่ความหรือพยาน แม้ถึงว่าข้อความเหล่านั้นจะเป็นความจริง หรือ ง. เป็นการชักจูงให้เกิดมีคำพยานเท็จ เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้นำวิเคราะห์ศัพท์ทั้งปวงในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การพิมพ์ พ.ศ. 2476 มาใช้บังคับ”
# ยูทูปเบอร์ (Youtuber) คือ บุคคลซึ่งสร้างสรรค์เนื้อหาวิดีโอ หรือคอนเทนต์ และเผยแพร่บนแพลตฟอร์มยูทูป (YouTube)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ