การที่ลูกจ้างแจ้งลาป่วยเป็นเท็จ หรือ Work from Home แต่แอบออกไปสัมภาษณ์งาน หากนายจ้างทราบจะเลิกจ้างลูกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
การที่ลูกจ้างแจ้งลาป่วยเป็นเท็จ หรือ Work from Home แต่แอบออกไปสัมภาษณ์งาน หากนายจ้างทราบจะเลิกจ้างลูกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
852 Views
ภายหลังการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 มีการคาดการณ์กันว่าจะมีคนที่เสี่ยงตกงานมากถึง 8 ล้านคนซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก อย่างไรก็ดี ยังมีลูกจ้างหลายรายที่มีงานประจำอยู่แต่ต้องการหางานใหม่โดยมีเทคนิคในการหาเวลาว่างเช่น การขอลาป่วยหรือทำงานจากที่บ้านแล้วแอบออกไปสัมภาษณ์งาน จึงมีคำถามว่า การที่ลูกจ้างแจ้งลาป่วยเป็นเท็จ หรือ Work from Home แต่แอบออกไปสัมภาษณ์งาน หากนายจ้างทราบจะเลิกจ้างลูกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่
เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่ตามสัญญาจ้าง หรือตามกฎหมายที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง การที่ลูกจ้างแจ้งลาป่วยเป็นเท็จ หรือทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) แต่แอบออกไปสัมภาษณ์งาน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้าง และเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควร ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 583 อย่างไรก็ดี หากการละทิ้งหน้าที่ดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกัน นายจ้างจะต้องลงโทษทางวินัยที่ไม่มีผลเป็นการเลิกจ้าง เช่น การตักเตือนเป็นหนังสือเสียก่อน แต่จะเลิกจ้างลูกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 (4) และ (5)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2526 และ 3567-3568/2539)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ
เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่ตามสัญญาจ้าง หรือตามกฎหมายที่จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง การที่ลูกจ้างแจ้งลาป่วยเป็นเท็จ หรือทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) แต่แอบออกไปสัมภาษณ์งาน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ตามสัญญาจ้าง และเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยปราศจากเหตุอันสมควร ซึ่งไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 583 อย่างไรก็ดี หากการละทิ้งหน้าที่ดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกิน 3 วันทำงานติดต่อกัน นายจ้างจะต้องลงโทษทางวินัยที่ไม่มีผลเป็นการเลิกจ้าง เช่น การตักเตือนเป็นหนังสือเสียก่อน แต่จะเลิกจ้างลูกจ้างทันทีโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 (4) และ (5)
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 329/2526 และ 3567-3568/2539)
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ