กรณีซื้อรถมาจากตลาดซื้อขายรถยนต์มือสองโดยสุจริตและชำระราคาครบแล้ว หากต่อมาเจ้าของรถคันดังกล่าวใช้สิทธิติดตามและเอาคืนโดยอ้างว่าเป็นรถที่ถูกยักยอกมาขาย ผู้ซื้อจะต้องคืนรถให้แก่เจ้าของหรือไม่
กรณีซื้อรถมาจากตลาดซื้อขายรถยนต์มือสองโดยสุจริตและชำระราคาครบแล้ว หากต่อมาเจ้าของรถคันดังกล่าวใช้สิทธิติดตามและเอาคืนโดยอ้างว่าเป็นรถที่ถูกยักยอกมาขาย ผู้ซื้อจะต้องคืนรถให้แก่เจ้าของหรือไม่
446 Views
รถมือสองยังคงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของใครหลายๆ คนที่อยากจะได้รถสักคันหนึ่ง แต่ยังไม่พร้อมที่จะซื้อรถใหม่ป้ายแดง อย่างไรก็ดี การซื้อรถมือสองย่อมมีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า รถคันดังกล่าวเคยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของมาก่อน จึงมีคำถามว่า กรณีซื้อรถมาจากตลาดซื้อขายรถยนต์มือสองโดยสุจริตและชำระราคาครบแล้ว หากต่อมาเจ้าของรถคันดังกล่าวใช้สิทธิติดตามและเอาคืนโดยอ้างว่าเป็นรถที่ถูกยักยอกมาขาย ผู้ซื้อจะต้องคืนรถให้แก่เจ้าของหรือไม่ แอดมินมีคำตอบครับ
ป.พ.พ. มาตรา 1332 มีหลักว่า “บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริต ในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะได้ชดใช้ราคาที่ซื้อมา” มาตราดังกล่าวมีความหมายว่า เฉพาะกรณีซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดโดยบุคคลทั่วไป (ไม่ใช่การขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล) หรือในท้องตลาด (สถานที่ซึ่งมีสินค้าไว้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปโดยปกติ) หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น (ผู้ที่ประกอบอาชีพในทางซื้อขายของชนิดหรือประเภทนั้นๆ เป็นปกติธุระ) ตามมาตรานี้เท่านั้น ที่ผู้ซื้อจะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของชดใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อได้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะสิทธิของเจ้าของตาม มาตรา 1336 ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1332 กรณีนี้จึงใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์เพื่อติดตามและเอาคืนจากผู้ซื้อไม่ได้ เว้นแต่จะได้ชดใช้ราคาให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อเจ้าของรถยนต์มิได้ปฏิบัติต่อผู้ซื้อดังกล่าว ผู้ซื้อจึงไม่จำต้องคืนรถยนต์ให้แก่เจ้าของแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หากไม่ใช่การซื้อขาย ในการขายทอดตลาด ในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น ก็ต้องกลับไปใช้หลัก “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” ดังนั้น แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540 และ 12162/2553)
ป.พ.พ. มาตรา 1332 มีหลักว่า “บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริต ในการขายทอดตลาด หรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะได้ชดใช้ราคาที่ซื้อมา” มาตราดังกล่าวมีความหมายว่า เฉพาะกรณีซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดโดยบุคคลทั่วไป (ไม่ใช่การขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล) หรือในท้องตลาด (สถานที่ซึ่งมีสินค้าไว้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปโดยปกติ) หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น (ผู้ที่ประกอบอาชีพในทางซื้อขายของชนิดหรือประเภทนั้นๆ เป็นปกติธุระ) ตามมาตรานี้เท่านั้น ที่ผู้ซื้อจะต้องคืนทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ ถ้าเจ้าของชดใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ ดังนั้น เมื่อผู้ซื้อได้ซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากผู้ขายซึ่งเป็นพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้นโดยสุจริต ผู้ซื้อย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะสิทธิของเจ้าของตาม มาตรา 1336 ดังกล่าวตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1332 กรณีนี้จึงใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรถยนต์เพื่อติดตามและเอาคืนจากผู้ซื้อไม่ได้ เว้นแต่จะได้ชดใช้ราคาให้แก่ผู้ซื้อ เมื่อเจ้าของรถยนต์มิได้ปฏิบัติต่อผู้ซื้อดังกล่าว ผู้ซื้อจึงไม่จำต้องคืนรถยนต์ให้แก่เจ้าของแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หากไม่ใช่การซื้อขาย ในการขายทอดตลาด ในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าที่ขายของชนิดนั้น ก็ต้องกลับไปใช้หลัก “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” ดังนั้น แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2540 และ 12162/2553)