หลอกขึ้นแท็กซี่ฟรี มีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
หลอกขึ้นแท็กซี่ฟรี มีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
337 Views
ในบรรดาปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้บริการแท็กซี่สาธารณะนั้น นอกจากปัญหาเรื่องรถเก่า แอร์ไม่เย็น และพฤติกรรมของผู้ให้บริการขับรถแท็กซี่แล้ว การปฏิเสธผู้โดยสารถือเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดโดยมีจำนวนสูงถึงร้อยละ 82 ของปัญหาทั้งหมด ส่วนปัญหาของผู้โดยสารมีต่อแท็กซี่และมีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนมากที่สุดนั้น เป็นเรื่องของการหลอกให้แท็กซี่ไปส่งแต่ไม่ชำระค่าโดยสาร จึงมีคำถามว่า หลอกขึ้นแท็กซี่ฟรี มีความผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 มีหลักว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การหลอกลวงให้แท็กซี่ไปส่งแต่ไม่ชำระค่าโดยสารที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น ผู้โดยสารได้รับผลเพียงการบริการขนส่งเท่านั้น หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ให้บริการขับรถแท็กซี่ไม่ จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543 และ1733/2516)
ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 มีหลักว่า “ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” จากคำถามดังกล่าวข้างต้น การหลอกลวงให้แท็กซี่ไปส่งแต่ไม่ชำระค่าโดยสารที่ตกลงไว้ว่าจะชำระให้นั้น ผู้โดยสารได้รับผลเพียงการบริการขนส่งเท่านั้น หาได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ให้บริการขับรถแท็กซี่ไม่ จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7264/2543 และ1733/2516)