ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นของจำเลย ในคดีที่มีลักษณะการกระทำความผิดที่มีวิธีการหรือรูปแบบเฉพาะได้หรือไม่

374 Views
โดยทั่วไปการกระทำความผิดของจำเลยจะมีความแตกต่างกันโดยเนื้อหาและลักษณะของการกระทำ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ที่มีสภาพร่างกาย จิตใจ ภาวะทางอารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ ประสบการณ์ การเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ในบางคดีจำเลยจะมีวิธีการหรือรูปแบบในการกระทำความผิดซ้ำๆ เช่น การเลือกเหยื่อ หรือวิธีการและลักษณะของการหลอกลวง เป็นต้น จึงมีคำถามว่า ศาลสามารถรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นของจำเลย ในคดีที่มีลักษณะการกระทำความผิดที่มีวิธีการหรือรูปแบบเฉพาะได้หรือไม่
 
ป.วิ.อ.มาตรา 226/2 มีหลักว่า “ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดครั้งอื่นๆ หรือความประพฤติในทางเสื่อมเสียของจำเลย เพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในคดีที่ถูกฟ้อง เว้นแต่พยานหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ .... (2) พยานหลักฐานที่แสดงถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดของจำเลย .... อย่างไรก็ดี ความข้างต้นไม่ห้ามการนำสืบพยานหลักฐานดังกล่าว เพื่อให้ศาลใช้ประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษหรือเพิ่มโทษ” ดังนั้น การที่จำเลยถูกดำเนินคดีในข้อหาลักษณะเดียวกันกับคดีนี้อีกหลายคดี ซึ่งมีลักษณะ วิธีการ หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำความผิดเช่นเดียวกัน ศาลจึงสามารถนำมาฟังประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/2 ว.1(2)
 
(เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11319/2556)
 
# บทความย้อนหลังอ่านได้ที่ https://lombonlawoffice.com/ หรือ “เพจทนายคู่คิด-ปรึกษาปัญหากฎหมาย” ครับ

บทความอื่นๆ